โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

การเมือง

การเมืองกดดันเศรษฐกิจ

ไทยโพสต์

อัพเดต 02 ก.ค. เวลา 18.26 น. • เผยแพร่ 02 ก.ค. เวลา 17.01 น.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองภาพรวมเศรษฐกิจปัจจุบันหลังผ่านวิกฤตต้มยำกุ้ง 28 ปี โดยนับจากวันที่ 2 ก.ค.2540 มาจนถึงปัจจุบันวันที่ 2 ก.ค.2568 นับเป็น 28 ปีครบรอบการประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ซึ่งเป็นผลพวงมาจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจภายในประเทศ และการผูกค่าเงินบาทไว้กับตะกร้าเงิน

ขณะที่บริบทเศรษฐกิจปี 2568 ได้ปรับเปลี่ยนไปมากจากช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ทั้งในมิติของทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง และสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึง 3 เท่า ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง เงินสำรองอยู่ในระดับสูง และมีกลไกเร่งจัดการปัญหาหนี้เสีย เพราะได้บทเรียนจากช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง

อย่างไรก็ดี โจทย์เศรษฐกิจปี 2568 มี 3 เรื่องสำคัญ คือ ความกังวลต่อทิศทางแข็งค่าของเงินบาท แม้ความผันผวนของเงินบาทปี 2568 จะน้อยกว่าช่วงปี 2540, แนวโน้มเศรษฐกิจไทยชะลอตัวจากผลของ Tariffs สหรัฐ เศรษฐกิจโลกที่เสี่ยง และปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย และกระสุนทางการคลังเผชิญข้อจำกัดมากขึ้น

ขณะที่ KKP Research ยังคงประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะไม่ได้รับประโยชน์จากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกตามสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนที่ปรับตัวดีขึ้นมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังคงเผชิญแรงกดดันหลายด้าน ทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้างระยะยาว และปัจจัยลบในปี 2568 ที่สำคัญคือ การชะลอตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะจีน การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่มีโอกาสกลับมาชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี การบริโภคในประเทศที่ยังคงอ่อนแอตามสินเชื่อที่หดตัว ตลอดจนความไม่แน่นอนทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้ KKP Research ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2025 เหลือ 1.6% จาก 1.7% และปี 2026 เหลือ 1.5%

ด้าน กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือ BBL มองว่า ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารได้มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2568 เติบโตที่ 2% และมีแนวโน้มไปในทางต่ำ (Down side) จากช่วงปลายปีก่อนที่คาดการณ์ไว้ประมาณ 3% เนื่องจากปัจจัยขับเคลื่อนหลัก ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีตอบโต้ของทรัมป์หลังจากครบกำหนดไว้ 3 เดือน ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนชะลอลง นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ลักพาตัวในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และล่าสุดความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศเอง ซึ่งหากมองกรณีเลวร้าย (Worst Case) จีดีพีอาจโตเพียง 1.5% ก็เป็นได้

"ประมาณปลายปีที่แล้ว เราคาดการณ์จีดีพีไทยปีนี้เติบโตที่ 3% จากการขับเคลื่อนของภาคการส่งออก, ท่องเที่ยว การลงทุนโดยตรง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่เมื่อผ่านมาได้ระยะหนึ่งก็เห็นว่าแรงต้านเยอะ การส่งออกอาจจะดีในช่วงต้นปี จากการเร่งนำเข้าสินค้าของผู้ประกอบการสหรัฐ แต่หลังจากนี้ก็คงชะลอลง ขณะที่การท่องเที่ยวก็ไม่เป็นไปตามคาด หลังจากเกิดเหตุลักพาตัวนักท่องเที่ยวชาวจีนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ นักท่องเที่ยวจีนจากที่เคยบวก 20% กลายเป็นติดลบ 2-3% แล้ว ซึ่งมองว่าจะกลับมาโดยเร็วคงยาก นักท่องเที่ยวต่างชาติได้ 35.5 ล้านคนก็ดีแล้ว"

นอกจากนี้ยังระบุว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองจะทำให้ธุรกิจเกิดความลังเลในการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชน ทำให้ความกระฉับกระเฉงในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลหายไป แรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากภาครัฐก็มีน้อยลง ทำให้เราปรับประมาณการเศรษฐกิจโตที่ 2%+Downside สำหรับปีนี้ แต่ตอนนี้ก็ยังเร็วไปที่จะมีการทบทวนเป้าหมายใหม่คงต้องรอให้ปัจจัยต่างๆ ชัดเจนขึ้น

เช่นเดียวกับ อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มองว่า เศรษฐกิจไทยปีงูเผชิญแรงกดรอบด้านเดือดดาลเหมือนงูไฟ ทั้งอสังหาริมทรัพย์ซบเซา นักท่องเที่ยวหาย การบริโภคแผ่ว ตลาดยานยนต์ซึม กำลังซื้ออ่อนแอ สินเชื่อหดตัว อัตราดอกเบี้ยสูง เงินบาทแข็งกระทบส่งออก การเมืองสั่นคลอน ปัจจัยต่างประเทศร้อนแรง ในฉากทัศน์นี้ กรณีฐาน (Base case) คาด GDP ปีนี้โตแค่ 1.8% เข้าข่ายเศรษฐกิจชะงักงัน และอาจเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิค หาก GDP หดตัวต่อเนื่องสองไตรมาสติดใน Q3 และ Q4 โดยเฉพาะหากปัจจัยลบหนักกว่าคาด เช่น สงครามน้ำมัน ราคาน้ำมันพุ่ง หรือการเมืองไทยยืดเยื้อ ยิ่งกดดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวต่ำสุดเหลือเพียง 1.4% กรณีดีที่สุด (Upside) หากส่งออกฟื้น มาตรการกระตุ้นกระจายตัวได้จริง การเมืองไม่ป่วน และน้ำมันลดราคา GDP มีโอกาสโตได้สูงสุดราว 2.3%

พร้อมทั้งมองว่า ไม่ว่าฉากทัศน์ไหน จะรุ่ง รอด หรือริ่ง สัญญาณชัดคือเศรษฐกิจไทยยังเสี่ยงโตต่ำต่อเนื่องไปถึงปีหน้า หากยังไม่เร่งแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างจริงจังและยั่งยืน ซึ่งจะทำให้ไทยสูญเสียความน่าสนใจในการลงทุนจากต่างชาติ”.

บุญช่วย ค้ายาดี

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ไทยโพสต์

จุดจบคดีชั้น 14-ร้องเอาผิด 144 มาตรา 5 ผ่าทางตัน? ‘วัส’ อดีตตุลาการฯ ชี้ป่วยทิพย์

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ถึงแม้จะไม่ปรารถนา…แต่ว่าบางครั้งยังจำเป็น

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เทศนาปาฏิหาริย์!!!

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Jaguar จะเจ๋ง…หรือจะเจ๊ง?

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความยอดนิยม