โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วงเวียน 22 กรกฎาคม อนุสรณ์สถานสำคัญแห่งความมั่นคงของชาติ

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 5 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพมุมสูง ย่านวงเวียน 22 กรกฎาคม เมื่อ พ.ศ. 2493 (ที่มา Dmitri Kessel LIFE magazine)

วงเวียน 22 กรกฎาคม อนุสรณ์สถานสำคัญแห่งความมั่นคงของชาติ

สำหรับคนเจนใหม่ทั้งหลาย คงไม่สนใจ 22 07 หรือ วันที่ 22 กรกฎาคม เท่า 707 หรือ 7 เดือน 7 หรือ 7 กรกฎาคม ที่มีมหกรรมสินค้าราคาถูกถล่มทลายในตลาดออนไลน์

สำหรับคนกรุงเทพรุ่นหนุ่มสาว คงไม่คุ้นกับคำว่า “วงเวียน” ผังการจราจรแบบเก่า ที่กำหนดให้รถยนต์วิ่งอ้อมเป็นวงกลม ตรงที่ถนนสองสายหลักมาเจอกัน

สำหรับคนไทยที่เหลืออยู่ไม่กี่คน ถ้าความจำยังดี อาจบอกได้ว่า วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 เป็นวันที่ สยามประเทศประกาศเข้าร่วมกับประเทศพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อร้อยกว่าปีก่อน

แต่ที่มาของ วงเวียน 22 กรกฎาคม กลับเป็นเรื่องที่คนไทยทุกรุ่นทุกวัยรู้จักคุ้นเคย เหมือนอย่างเมื่อไม่กี่วันมานี้ คนเมืองหลวงต้องอกสั่นขวัญแขวน เมื่อเกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกที่ถนนกิ่งแก้ว สมุทรปราการ เนื่องจากมีสารเคมีหลากหลายชนิด จึงต้องใช้เวลาข้ามคืนข้ามวันกว่าจะดับเพลิงได้ ในขณะที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง

เหมือนช่วงเวลาเมื่อร้อยกว่าปีก่อนในพระนครนั้น ย่านการค้าอย่างสำเพ็งและบริเวณใกล้เคียงมีชาวจีนเปิดกิจการค้าและอยู่อาศัยอย่างแออัด สิ่งก่อสร้างยังเป็นวัสดุธรรมชาติ อย่างไม้ ไม้ไผ่ และใบจาก ประกอบกับวัฒนธรรมการจุดธูปไหว้เจ้า รวมทั้งการหุงต้มอาหารด้วยไม้ฟืนและถ่าน ล้วนเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้อยู่เสมอ

ดังเช่นในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2460 เกิดเหตุไฟไหม้บริเวณตำบลหัวลำโพงเป็นบริเวณกว้างด้วยอาคารบ้านเรือนติดไฟง่าย การเข้าไปดับเพลิงทำได้ยากเพราะทางแคบ แม้จะเกิดช่วงกลางวันแต่ก็สูญเสียชีวิต และสูญเสียทรัพย์สินจำนวนมาก

ดังที่บันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษาว่า เกิดเพลิงที่ปากตรอกบ่อนเบี้ยเก่าหัวลำโพง ตั้งแต่ช่วงเก้านาฬิกาก่อนเที่ยง กว่าจะเพลิงสงบเป็นเวลาตีสอง บ้านเรือนถูกเพลิงไหม้ 240 หลัง ตึกของกรมพระคลังข้างที่ และรถรางอีก 1 คัน ทรัพย์สินเสียหายมูลค่า 780,200 บาท ลูกเสือเสียชีวิตหนึ่งคน และมีผู้บาดเจ็บอีก 4 คน ส่วนสาเหตุที่เกิดขึ้นเพราะนายซ่วย จุดธูปไหว้แล้วธูปคงไหม้ลุกลาม

หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น กระทรวงนครบาล โดยเจ้าพระยายมราช จึงทูลเกล้าฯ ถวายโครงการปรับปรุงพื้นที่บริเวณนี้ ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวให้มีการตัดถนนเข้าไปในพื้นที่ เมื่อพระองค์ทรงเห็นชอบในโครงการดังกล่าว จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกฤษฎีว่าด้วยการตัดถนนในที่เพลิงไหม้ตำบลหัวลำโพง เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2460 (2461) ดังนี้

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการตัดถนนในที่เพลิงไหม้ตำบลหัวลำโพง

มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ทราบทั่วกันว่า ในการเกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่ตำบลหัวลำโพงใน ท้องที่อำเภอป้อมปราบศัตรูพ่าย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2460 นั้น ทรัพย์สมบัติของประชาชนเปนอันตรายเสียหายเปนอันมาก แต่หากเปนเวลากลางวันจึงยังพอป้องกันไว้ได้ ไม่ไหม้มากมายไป ทั้งนี้ก็เพราะพื้นที่ในละแวกนั้นมีบ้านเรือนปลูกสร้างเบียดเสียดเยียดยัดซับซ้อนกัน ไม่มีถนนหนทางใหญ่ๆ เพียงพอให้เป็นทางทำการป้องกันอันตรายได้สะดวกท่วงที นอกจากนี้ยังเป็นตำบลที่ไม่สะอาดพอ เป็นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้มากกว่าตำบลใกล้เคียงอยู่เสมอ สมควรที่จะมีถนนผ่านเข้าไปในละแวกนี้ให้พอควร…

สำหรับถนนที่มีแผนจะตัดขึ้นใหม่ มีจำนวน 3 สาย สายที่หนึ่ง ตั้งแต่สามแยกถนนหัวลำโพงใน กับถนนกรุงเกษม เชิงสะพานเจริญสวัสดิ์ ไปออกสี่แยกถนนพลับพลาไชย กับถนนหลวง ระยะทาง 954 เมตร สายที่สอง ตั้งแต่ถนนเจริญกรุง ตรงถนนทรงวาด ผ่านถนนสายที่ 1 ไปออกสามแยก ถนนกรุงเกษมกับถนนหลวง เชิงสะพานนพวงศ์ ยาวประมาณ 692 เมตร และสายที่สาม เริ่มตั้งแต่ถนนพลับพลาไชย ผ่านสายที่ 1 และสายที่ 2 ไปออกถนนกรุงเกษมยาวโดยประมาณ 520 เมตร ถนนทั้งสามสาย ให้มีขนาดกว้างถึง 8 วา หรือ 16 เมตร และที่สำคัญคือ

…ให้มีวงเวียนเป็นรูปวงกลม ในที่บรรจบทางผ่านของถนน 3 สายนี้ มีขนาดกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง 120 เมตร เพื่อมีที่ว่างพอเป็นที่สำหรับทำการก่อสร้างถาวรวัตถุ อันเป็นประโยชน์ให้สมควรเป็นความสง่างามสำหรับพระนคร…

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลานั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2457 แต่ด้วยสยามประเทศ ดำเนินความเป็นกลางอย่างเคร่งครัดมาตลอด จนกระทั่งเยอรมันโจมตีเรือดำน้ำโดยที่มิได้ประกาศล่วงหน้า อันเป็นสิ่งมิชอบในยามสงคราม ดังความในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพิธีถวายบังคมพระบรมรูปบุรพกษัตริย์ 5 พระองค์ ว่า “ผู้ประพฤติมิเป็นธรรม แลละเมิดต่อแบบธรรมเนียมธรรมะระหว่างประเทศ”โดยตัดสินพระทัยประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 และส่งทหารอาสาไปร่วมรบ ณ สมรภูมิทวีปยุโรป จนกระทั่งมีการลงนามในสัญญาพักรบหยุดยิง ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 อันเป็นชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรและสยามประเทศ

เพื่อเป็นอนุสรณ์วันที่สยามประเทศประกาศสงครามในครั้งนั้น จึงได้พระราชทานนาม วงเวียน 22 กรกฎาคม ส่วนถนนสามสาย โปรดเกล้าฯ ให้พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ปลัดกรมพระอาลักษณ์คิดชื่อถนนให้มีความหมายเกี่ยวเนื่องกัน ดังนี้ ถนนสายที่ 1 ถนนไมตรีจิตต์ ถนนสายที่ 2 ถนนมิตรพันธ์ และถนนสายที่ 3 ถนนสันติภาพ

สำหรับคนรุ่นปัจจุบัน คงไม่รู้ว่าการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร จนได้รับชัยชนะ “นำมาซึ่งความมั่นคงในอิสรภาพของสยาม” สามารถขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในอดีต ระหว่างสยามกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ทั้งหมด

ในวันที่บ้านเมืองเกิดภัยพิบัติ ทั้งโรคระบาดและมหาอัคคีภัย ผู้คนล้วนวิตกกังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คงไม่มีใครใส่ใจวงเวียนเล็กๆ ในย่านเมืองเก่าที่เป็นอนุสรณ์สถานสำคัญแห่งความมั่นคงของชาติ

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : วงเวียน 22 กรกฎาคม อนุสรณ์สถานสำคัญแห่งความมั่นคงของชาติ

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

“หัวไชเท้า” พืชหัวที่หลายคนชื่นชอบ ทำไมเรียกด้วยชื่อนี้

39 นาทีที่แล้ว

นางสุชาดา “สีกา” หมายเลข 1 ในพุทธศาสนา

53 นาทีที่แล้ว

6 เมืองโบราณของไทย ที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์ คือที่ใด?

56 นาทีที่แล้ว

วังหน้าองค์สุดท้ายสมัยอยุธยา คือ “เจ้าฟ้า” พระองค์ใด?

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

'กรมทะเล' สำรวจพร้อมตรวจสุขภาพ 'เต่าทะเลฝั่งอันดามัน'

กรุงเทพธุรกิจ

ChatGPT โตต่อเนื่อง ยอดผู้ใช้งานมากกว่า 2.5 พันล้านครั้งต่อวัน

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ ประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร!

คมชัดลึกออนไลน์

6 วิธีลดน้ำหนักผู้ชายที่ใช้ได้จริง ไม่ต้องอดข้าว ไม่ต้องวิ่งทุกวัน

sanook.com

โสดแล้วไง? คนโสดเกลื่อนเมือง เมื่อ 50% ของชาวกรุงเทพฯ อยู่คนเดียว (และแฮปปี้ดี!)

สยามรัฐวาไรตี้

แบบทดสอบจิตวิทยา เช็กสไตล์ความเป็นคุณ: สายหวาน Girlish หรือสายเท่ Masculine?

sanook.com

“หัวไชเท้า” พืชหัวที่หลายคนชื่นชอบ ทำไมเรียกด้วยชื่อนี้

ศิลปวัฒนธรรม

LOEWE Craft Prize 2026 เปิดรับผลงานจากศิลปินชาวไทย ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 ตุลาคม

THE STANDARD

ข่าวและบทความยอดนิยม

วังหน้าองค์สุดท้ายสมัยอยุธยา คือ “เจ้าฟ้า” พระองค์ใด?

ศิลปวัฒนธรรม

“ใต้เท้า” มาจากไหน? ที่มาคำคุ้นหูจากต้นกำเนิดเก่าแก่กว่า 2,000 ปี

ศิลปวัฒนธรรม

งานเลี้ยงดังในประวัติศาสตร์จีน “หงเหมิน” งานเลี้ยงลอบสังหาร

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...