โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนนางสยาม ผู้สร้าง 3 เมืองใหม่ในกัมพูชา

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 22 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 1 วันที่แล้ว
วัดปราบปรามปัจจมิตร เมืองพระตะบอง หรือที่ชาวเมืองส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ “วัดกโดล

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนนางสยาม ผู้สร้าง 3 เมืองใหม่ในกัมพูชา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงมีขุนนางคู่พระทัย คือ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งเกียรติประวัติสำคัญหนึ่งของขุนนางท่านนี้ คือ แม่ทัพผู้ถืออาญาสิทธิ์ในสงครามอานามสยามยุทธ์

สงครามครั้งนั้น เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้สร้าง “เมืองใหม่” หลายเมือง ซึ่ง 3 เมืองใหม่ในกัมพูชา ได้แก่ เมืองพระตะบอง เมืองมงคลบุรี เมืองศรีโสภณ

เมืองพระตะบอง

เมื่อ พ.ศ. 2379 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพออกไปเมืองพระตะบอง เห็นค่ายเมืองพระตะบองชำรุดทรุดโทรม จึงมีใบบอกเข้ามาพระนคร เพื่อขอก่อป้อมกำแพงสร้างเมืองพระตะบองใหม่ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกว่า

“…ค่ายเมืองพระตะบองทำไว้แต่ก่อนยาว 23 เส้น 10 วา กว้าง 11 เส้น ชำรุดหักพังไปเป็นอันมาก ที่หน้าเมืองเก่าถึงฤดูน้ำฤดูฝน หน้าตลิ่งพัง จะขอทำอิฐเผาปูนก่อป้อมกำแพงเมือง สร้างเมืองขึ้นไปทางขึ้นไปข้างเหนือน้ำ…แล้วก็โปรดอนุญาตยอมให้ทำขึ้น เจ้าพระยาบดินทรเดชาจึ่งกะเกณฑ์เลขหัวเมืองทำอิฐเผาปูนตระเตรียมไว้…ลุศักราช 1199 เจ้าพระยาบดินทรเดชา กลับมาทำป้อมกำแพงเมืองพระตะบองยาวตามลำน้ำ 13 เส้น สกัดขึ้นไปบนบก 16 เส้น มีป้อม 6 ป้อม…”

เมืองพระตะบองที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สร้างขึ้นนี้ใช้เวลา 1 ปี (พ.ศ. 2379-2380) เมื่อสร้างแล้วเสร็จได้ทำพิธีฝังอาถรรพ์หลักเมือง เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2380 มีการทำพิธีสงฆ์ พิธีพราหมณ์ ฝังอาถรรพ์ที่หลักเมือง แล้วมีหนังสือกราบทูลรัชกาลที่ 3

นอกจากสร้างเมืองพระตะบองใหม่แล้ว ยังได้สร้างวัดไว้ที่เมืองพระตะบองแห่งหนึ่งในบริเวณที่ตั้งทัพ คือ “วัดปราบปรามปัจจมิตร” หากชาวเมืองพระตะบองส่วนใหญ่รู้จักในชื่อ วัดกโดล (วตฺตกฺฎุล)

เมืองมงคลบุรี

เมื่อรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพไปรบกับเวียดนามในสงครามอานามสยามยุทธ์ ยังรับสั่งให้ตั้งเมืองขึ้นใหม่ในเส้นทางการเดินทัพไปยังเมืองพระตะบอง คือ “เมืองมงคลบุรี” ปัจจุบัน คือ อำเภอหนึ่งในจังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา ภาษาเขมรว่า บ็อนเตียย์เมียนเจ็ย และโปรดเกล้าฯ นักองค์ด้วง เสด็จมาปกครองเมืองมงคลบุรี ระหว่าง พ.ศ. 2376-2380

นักองค์ด้วงปกครองเมืองมงคลบุรีประมาณ 4 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2376-2380 กระทั่งเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2380 ขุนนางไทยที่เมืองพระตะบอง ได้รายงานไปกรุงเทพฯ ว่า นักองค์ด้วงกับขุนนางเขมรบางคนร่วมกันเกลี้ยกล่อมชาวเมืองพระตะบองให้อพยพไปอยู่ที่พนมเปญ

เมื่อทางกรุงเทพฯ ทราบเรื่อง จึงให้คุมตัวนักองค์ด้วงเข้ามาที่กรุงเทพฯ

ปัจจุบันบริเวณตำหนักหลวงที่นักองค์ด้วงเคยประทับ เป็นที่ตั้งของวัดหลวงชื่อ วัดโพธิหลวง หรือมีชื่อทางการว่า วัดหลวงสีสุวัตถิ์รตนราม หมู่บ้านภูมิหลวง ตำบลรึเซ็ยโกรก อำเภอมงคลบุรี จังหวัดบันทายมีชัย

เมืองศรีโสภณ

3 เมืองใหม่ในกัมพูชา ที่เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สร้างขึ้นเป็นเมืองสุดท้าย คือ เมืองศรีโสภณ

หลังสงครามคราวปราบเจ้าอนุวงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2369 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กวาดต้อนครัวเมืองเวียงจันทน์และเมืองขึ้น พร้อมทั้งเมืองอื่นๆ ลงมากรุงเทพฯ แล้วขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อยู่ตามเมืองต่างๆ หลายเมือง

ในจำนวนนั้นมีชาวลาวญ้อ ยกมาตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านหลายแห่งในบริเวณ “เมืองศรีโสภณ” ปัจจุบันคือ อำเภอหนึ่งในจังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง เมืองศรีโสภณ ขึ้น ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ว่า

“…ได้ยกบ้านขึ้นเป็นเมืองก็หลายตำบล เมืองขึ้นมหาดไทย บ้านกบแจะยกขึ้นเป็นเมืองประจันตคาม 1 ยกด่านหนุมานขึ้นเป็นเมืองกระบิลบุรี 1 บ้านหินแร่ยกขึ้นเป็นเมืองอรัญประเทศ 1 บ้านทุ่งแขยกขึ้นเป็นเมืองวัฒนานคร1 บ้านสวายเป็นเมืองศรีโสภณ 1…”

เช่นเดียวกับ เอเจียน อายโมนิเยร์ (Etienne Aymonier) ที่บันทึกไว้ว่า

“เมืองซึ่งชาวกัมพูชาเรียกว่า ‘สวาย (มะม่วง)’ เป็นเมืองขึ้นของพระตะบองซึ่งเจ้าคุณบดินทร์ ขุนนางผู้ใหญ่ชาวสยาม ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองใน ค.ศ. 1846 (พ.ศ. 2389) โดยขึ้นตรงต่อกรุงเทพ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเมืองนี้จึงได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ศรีโสภณ…”

3 เมืองใหม่ในกัมพูชา ที่มีผู้คนอาศัยมาถึงปัจจุบัน จึงเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ได้อย่างดีถึงบทบาทและหน้าที่ของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนนางสยามในกัมพูชา

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

หมายเหตุ : บทความนี้เขียนเก็บความจาก ศานติ ภักดีคำ. “เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สร้างเมืองใหม่ในกัมพูชา” ใน, เอกสารประกอบงาน สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา “บดินทรเดชา แม่ทัพกล้า-‘ขุนพลแก้ว’ คู่พระทัย” 24 สิงหาคม 2560.

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนนางสยาม ผู้สร้าง 3 เมืองใหม่ในกัมพูชา

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

พระพุทธรูปทรงเครื่องฉลองพระองค์ 12 องค์ ในพระอุโบสถ วัดพระแก้ว แทนกษัตริย์และเจ้านายองค์ใดบ้าง?

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

26 กรกฎาคม 1956 อียิปต์ยึด “คลองสุเอซ” คืนจาก “อังกฤษ-ฝรั่งเศส”

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“เฉลว” เครื่องรางขับไล่ภูตผี มรดกความเชื่อโบราณกลุ่มชนคนไท

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ดับบาวาลา” อาชีพส่งปิ่นโตในเมืองมุมไบ เก่าแก่กว่า 130 ปี ส่งแม่น ส่งไว ติดอันดับโลก

9 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

พบ ‘งูเส้นด้ายบาร์เบโดส’ งูที่เล็กที่สุดในโลก หลังเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

กรุงเทพธุรกิจ

ฉลองวันแม่ด้วยหลากหลายกิจกรรมที่ ม็อกซี่ แบงคอก ราชประสงค์

Manager Online

โรบินสันไลฟ์สไตล์ เปิดแคมเปญ “ชวนเที่ยวด้วยกัน”

Manager Online

หา ‘คนกลาง’ หยุดยิงไทย-เขมร

ประชาชาติธุรกิจ

โจร-ตำรวจ จิบกาแฟ ตำนานดวลปืน สู่แรงบันดาลใจหนังดัง

The Momentum

6 วิธีเก็บเงินวัยทำงานสำหรับผู้ชายที่ไม่ต้องประหยัดมากจนเครียด

sanook.com

เปิดแล้ว! 'มหกรรมนิยายนานาชาติ 2025 #อ่านอาร์ต 25 ก.ค.-3 ส.ค. 68

กรุงเทพธุรกิจ

LG เผยผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2568 สร้างรากฐานแกร่งสำหรับการเติบโตเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน

Insight Daily

ข่าวและบทความยอดนิยม

เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ขุนนางสยาม ผู้สร้าง 3 เมืองใหม่ในกัมพูชา

ศิลปวัฒนธรรม

“สุสานหิ่งห้อย” จากเรื่องจริง สู่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่เล่าถึงโศกนาฎกรรมในสงคราม

ศิลปวัฒนธรรม

“วัดชัยชนะสงคราม” เจ้าพระยาบดินทรเดชา ขุนพลคู่พระทัยรัชกาลที่ 3 สร้างเพราะชนะสงครามอะไร?

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...