โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ทรัมป์เก็บภาษีไทย 36% แซงหน้าคู่แข่ง! เปิดเกมเจรจา 3 ฉากทัศน์

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 21 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

จากกรณีที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศมาตรการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจาก 14 ประเทศทั่วโลก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ส.ค. 2568 เป็นต้นไป ซึ่งประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายการคืนดุลการค้าจากสหรัฐฯ ถูกเรียกเก็บอัตราภาษีสูงถึง 36% นับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักสุด

สิ่งที่น่ากังวลคือ การส่งผลกระทบลามไปถึงห่วงโซ่เศรษฐกิจของไทยในหลายมิติ ทั้งในแง่ของความสามารถในการแข่งขันที่ถดถอยลง การที่สินค้าส่งออกจากไทยต้องแบกรับภาษี 36% ทำให้ราคาปลายทางสูงกว่าคู่แข่ง ทำให้ผู้ประกอบการอาจเลือกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากกว่า

จากปัจจัยเป็นผลให้นักวิเคราะห์จากหลายค่ายได้ประเมินฉากทัศน์ การเจรจาต่อรองภาษีการค้าระหว่างไทยและสหรัฐฯ ต่อความเป็นไปได้หั่นภาษีนำเข้าลดต่ำกว่า 36% พร้อมมองผลกระทบต่อการปรับข้อเสนอต่อรองการค้าในครั้งนี้ จะเสียเปรียและกระทบต่อผู้ประกอบการไทยมากน้อยแค่ไหน หุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์หรือแรงกระแทก

เปิด 3 ฉากทัศน์เจรจาภาษีสหรัฐฯ

นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางสหรัฐฯ ส่งหนังสือถึงประเทศต่างๆ แจ้งเรื่องอัตราการเก็บภาษีการค้า (Tariffs) ให้กับนานาประเทศๆ ในอัตราการเก็บภาษีในระดับ 25 - 40%

ทางฝ่ายเชื่อว่าอัตราภาษีดีงกล่าวไม่ใชอัตราสุดท้าย แต่เป็นการกดดันประเทศต่างๆ ให้ยื่นข้อเสนอที่ดีขึ้น รวมถึงเปิดตลาดให้สินค้าสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละตลาด ในระยะสั้นมีโอกาสเป็นลบ เพราะเท่ากับระดับภาษีที่ 20% ของเวียดนาม (ที่เปิดให้สินค้าเข้าสหรัฐฯ 100% ด้วยภาษี 0%) จะกลายเป็นฐาน (Floor) ที่เป็นไปได้ของประเทศส่วนใหญ่

อัตราภาษีที่ 36% ที่ไทยได้รับเป็นลบ เพราะสูงกว่าเพื่อร่วมภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็น เวียดนาม 20%, มาเลเซีย 25%, อินโดนีเซีย 32% คาดส่งผลต่อกลุ่มต่างๆ ดังนี้

  • นิคมอุตสาหกรรม ภาษีการค้าที่สูงส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน และมีความเสี่ยงในการที่ลูกค้าจะย้ายฐานการผลิต
  • กลุ่มที่มีรายได้จากสหรัฐฯ สูง (โดยเฉพาะอาหารทะเล อาหารสัตว์เลี้ยง) อย่าง TU (30%) และ ITC (50%) จะเผชิญแรงกดดันเชิงต้นทุน และจะเจอการต่อราคาจากคู่ค้า กดดันต่ออัตรากำไร
  • กลุ่มอาหาร (ผู้ผลิตเนื้อสัตว์) สหรัฐฯ น่าจะใช้โอกาสนี้กดดันให้ไทยเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะเนื้อหมู ซึ่งจะกระทบต่อ ผู้ผลิตเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อหมูอย่าง CPF และ BTG
  • ธนาคารพาณิชย์ ตัวเลขภาษีการค้าที่สูงกว่าคาดการณ์ของ BOT ที่ 18% มีแนวโน้มทำให้ประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) มีความเสี่ยงทางลบ ซึ่งอาจกดดันต่อสินเชื่อของธนาคาร

ภาพรวมกลยุทธ์ดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ยังมีแนวโน้มผันผวนในช่วง 2 - 3 สัปดาห์หน้า จนกว่าจะมีความชัดเจนเรื่อง “อัตราภาษีการค้าสุดท้าย” กับรายละเอียดข้อตกลง หรือสินค้าที่ไทยต้องเปิดตลาดเพิ่ม ประเมิน downside ของ SET Index ไว้ที่ระดับ 1,080 จุด

นักลงทุนมีแนวโน้มกังวลความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาพการลงทุนอาจกลับมากลุ่มหุ้นปลอดภัย (สื่อสาร โรงไฟฟ้าใหญ่) ทางฝ่ายยังชอบค้าปลีก และท่องเที่ยว ที่ valuation ลดลงมากจนเกินไป สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของเดือน ก.ค.68 แนวรับที่ 1,108 จุด แนวต้านที่ 1,130 จุด แนะนำให้รักษาสัดส่วนลงทุน เงินสด 50% หุ้น 50%

3 กลุ่มหุ้นรับอานิสงส์ภาษีต่ำ 20%

บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) วิเคราะห์การเจรจาการค้าระหว่างทีมไทยและสหรัฐฯ ว่า ประเมินผลสุดท้ายออกมาเป็น 3 ฉากทัศน์

  • สหรัฐฯ เก็บภาษีไทย < 20% เป็นกรณีที่ดีสุด และคาดว่าตลาดตอบรับเชิงบวกหนุน SET Index ปรับขึ้นไปที่ 1,170 จุด เป็นระดับที่ได้เปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่างเวียดนามและจีน ทำให้โอกาสภาคส่งออกและการย้ายฐานการผลิตมาไทยมีความน่าสนใจมากขึ้น
  • สหรัฐฯ เก็บภาษีไทย = 20% มอง Slightly Positive คาด SET Index Sideways Up ไปที่ 1,150 จุด เป็นระดับที่ได้เปรียบจีน (แต่เท่าเทียมกับเวียดนาม) ทำให้การย้ายฐานจากจีนมาภูมิภาคยังมีอยู่ ซึ่งแต่ละประเทศต้องพยายามสร้างจุดแข็งเพื่อดึงดูดเงินทุนไหลเข้า และอีกข้อดีคือ สร้างความชัดเจนให้ผู้ประกอบการสามารถเตรียมแนวทางสถานการณ์ได้ตรงจุด
  • สหรัฐฯ เก็บภาษีไทย > 20% คาด SET Index ตอบรับเชิงลบกลับมา 1,100 จุด ความกังวลต่อการสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ส่วน Downside มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราภาษีที่สหรัฐฯ เรียกเก็บ

สำหรับมุมมองของทางฝ่ายคาดสหรัฐฯ จะลดภาษีต่ำกว่า 20% หากเกิดขึ้นจริงประเมินหุ้นที่ได้ประโยชน์ คือ

  • กลุ่มนิคมจากโอกาสย้ายฐานการผลิต WHA
  • กลุ่มส่งออก CCET
  • กลุ่มที่ได้ประโยชน์ต้นทุนลดลงจากการนำเข้าวัตถุดิบจากสหรัฐฯ GFPT
  • ขณะที่ประโยชน์ทางอ้อมหากสหรัฐฯ สามารถเจรจาการค้ากับประเทศอื่นๆ ได้คาดบวกต่อกลุ่มพลังงาน PTTEP SPRC กลุ่มโรงไฟฟ้า (ประโยชน์ทางอ้อมจาก FED ลดดอกเบี้ยง่ายขึ้น) CKP BCPG

กลุ่มที่คาดหวังเชิงบวกต่อการเจรจาการค้าระหว่างไทยสหรัฐฯ ขึ้นนำตลาด เช่น กลุ่มอิเล็คฯ +5% นำโดย CCET +9.4% KCE +7.4% กลุ่มส่งออกอาหารสัตว์ ITC +3% กลุ่มส่งออกยาง +1.5% กลุ่มเครื่องดื่ม COCOCO +6.5% SAPPE +6.3% ส่วนกลุ่มที่ปรับลงกลุ่มที่อาจเสียประโยชน์จากเปิดตลาดนำเข้าเนื้อหมูสหรัฐฯ CPF -1.4% และ TFG -1.4% เป็นต้น

ภาษีนำเข้าสูงฉุดไทยเสียเปรียบแข่งขัน

บล.พาย วิเคราะห์ว่า แม้ไทยกำลังอยู่ในช่วงเจรจาภาษีกับสหรัฐฯ แต่หากไปดูหลายๆประเทศที่เข้าพูดคุยกับสหรัฐฯ จะพบว่ามักมีการพูดคุยกันหลายรอบกว่าจะสำเร็จ ดังนั้น การเจรจาของไทยกับสหรัฐฯ อาจไม่สำเร็จทันที และยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าท้ายที่สุดแล้วไทยจะเผชิญกับภาษีอัตราเท่าใด

หากเผชิญภาษีนำเข้าที่มากกว่า 20% จะทำให้เสียเปรียบการแข่งขันทั้งการส่งออกและนิคมอุตสาหกรรม ตลาดหุ้นไทยระยะสั้นจึงอาจเผชิญกับแรงกดดันจากประเด็นนี้ เมื่อผสานกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงทำให้พื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังไม่แข็งแกร่ง ดังนั้นตลาดหุ้นไทยอาจเผชิญแรงกดดันระยะสั้นจากภาษีเวียดนามที่ค่อนข้างต่ำ

ในเชิงกลยุทธ์การลงทุนอาจเลือกทำกำไรระยะสั้น เนื่องด้วยตลาดหุ้นที่ปรับขึ้นมาและเผชิญกับแรงกดดันจากภาษีเวียดนาม แต่หากปรับลงมายังมองเป็นโอกาสสำหรับนักลงทุนระยะกลาง เน้นที่หุ้นใหญ่พื้นฐานดี อาทิ CPN ค้าปลีก (BJC CPALL) ธนาคารพาณิชย์ (BBL KBANK KTB SCB) โรงพยาบาล (BDMS) เป็นต้น

ไทยเปิดตลาดสินค้าเกษตร

บล.ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) วิเคราะห์ว่า มุมมองของฝ่ายวิจัยต่อประเด็นภาษี เชื่อว่าไทยจะยื่นข้อเสนอใหม่อีกครั้งเพื่อหวังลดระดับภาษี เนื่องจากระดับ 36% สูงเกินไปและแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์กันไวเ และมองเป็นเรื่องยากที่ไทยจะเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กับสหรัฐฯ

โดยเฉพาะสินค้าเกษตรเข้ามาในไทยโดยไม่ต้องเสียภาษี เพราะจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อยในประเทศ ซึ่งรวมถึงการนำเข้าเนื้อหมู (อัตราภาษีนำเข้าในปัจจุบัน 30%), เนื้อวัว (50%), ส้ม (40%), เกรปพรุต (40%), ไส้กรอก (30%), ผลิตภัณฑ์ขนมหวานที่ทำด้วยน้ำตาล (30%), เบียร์และวิสกี้ (60%) ตามข้อมูลของสถานทูตสหรัฐ และสถานกงสุลในไทย

ทั้งนี้ ประเทศไทยพร้อมจะลดภาษีนำเข้าให้กับสหรัฐฯ เพื่อเพิ่มปริมาณค้าขายระหว่างกัน โดย รมต. คลังกล่าวว่า ไทยเตรียมจะลดภาษีนำเข้าสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ หลายรายการ ซึ่งรวมถึงข้าวโพดที่เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรไทย เพื่อปรับสมดุลการค้ากับสหรัฐฯ

"ฝ่ายวิจัยเชื่อว่าไทยน่าจะอนุญาตให้มีการนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐฯ เข้ามามากขึ้น เพราะจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรจำนวนน้อยกว่า แทนที่จะเปิดทางให้นำเข้าเนื้อหมูและเนื้อไก่ ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้าง"

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

ธุรกิจสถานีชาร์จ EV ยอดพุ่ง REVERSHARGER พัฒนาระบบสั่งงานข้ามค่าย

34 นาทีที่แล้ว

กลุ่มอิเล็กฯห่วงภาษีทรัมป์กระทบจ้างงาน-ย้ายฐานการผลิตหนีไทย

35 นาทีที่แล้ว

ททท.ตั้งเป้าขับเคลื่อนรายได้ท่องเที่ยวปี 2569 ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านล้าน เติบโต 7%

41 นาทีที่แล้ว

แผ่นดินไหวเมียนมา ขนาด 5.2 สะเทือนไทยหลายพื้นที่ในจ.เชียงราย

47 นาทีที่แล้ว

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความธุรกิจ-เศรษฐกิจอื่นๆ

เร่งสรุปแผนรับมือวิกฤตน้ำมันฯ 5 ปียึดหลักดูแลเสถียรภาพราคาพลังงาน

The Better

อยากรวยต้องถือ Bitcoin? ‘ซาโตชิ นากาโมโตะ’ ผู้สร้าง รวยติดอันดับ 11 ของโลกแล้ว

TODAY

FETCO ชี้ภาษี 25% ทางออกดีสุด แนะรัฐบาลเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ-ปฏิรูปประเทศ

การเงินธนาคาร

"SCB EIC" ประเมิน 5 ประเด็นเสี่ยง สินค้าไทยโดนเก็บภาษีสูงกว่าเวียดนามและประเทศคู่แข่ง

สยามรัฐ

“หมอกฤชรัตน์” ชี้ทองคำสิ้นสุดการปรับฐาน ลุ้นปลายปีทดสอบ 3,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ

TNN ช่อง16

ปัจจัยลบรุมทึ้ง ศก.ไทย เคเคพีหั่นเป้าโตลดต่ำอีกเหลือ 1.6% | คุยกับบัญชา | 1 ก.ค. 68

BTimes

เคทีซีเปิดแนวคิด"โค้ชชิ่ง"ดันศักยภาพบุคลากร-มุ่งเติบโตยั่งยืน

Manager Online

EXIM Thailand Joins Forces with Partner Agencies

AEC10NEWs

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...