โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

การเติบโตของ Wellness Economy กับแนวโน้มธุรกิจสุขภาพในไทย

TERRABKK

เผยแพร่ 12 ชั่วโมงที่ผ่านมา • TERRABKK
การเติบโตของ Wellness Economy กับแนวโน้มธุรกิจสุขภาพในไทย

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ “ยุคทองของเศรษฐกิจสุขภาพ” อย่างเต็มตัว สะท้อนให้เห็นจากพฤติกรรมของผู้คนที่หันมาใส่ใจสุขภาพทั้งกายและใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเพื่อพักฟื้น การกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไปจนถึงการดูแลรูปลักษณ์และจิตใจ โดยเฉพาะหลังสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพมากยิ่งขึ้น

จากข้อมูลของ Global Wellness Institute ในปี 2023 มูลค่าตลาด Wellness Economy ของไทยอยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท ใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิดในปี 2019 ที่อยู่ที่ 1.45 ล้านล้านบาท และยังมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยปีละ 8.62% ในช่วงปี 2020–2023

แม้ในช่วงปี 2020–2021 ตลาดจะหดตัวลงเหลือ 940,000 ล้านบาท แต่ก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในปี 2023 ที่เติบโตสูงถึง 28% จากปีก่อนหน้า ปัจจัยสำคัญคือการกลับมาของนักท่องเที่ยวและการที่ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

หนึ่งในกลุ่มที่เติบโตอย่างโดดเด่นคือ Wellness Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีการใช้จ่ายรวมสูงถึง 419,000 ล้านบาทในปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 2022 ที่อยู่ที่ 194,000 ล้านบาท แนวคิดด้านสุขภาพยังแทรกซึมเข้าสู่ชีวิตประจำวันในทุกมิติ ตั้งแต่การกิน การออกกำลังกาย แฟชั่น ไปจนถึงการดูแลจิตใจ ส่งผลให้ตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่มีฉลากสุขภาพเติบโตแตะ 198,000 ล้านบาท และยังเชื่อมโยงกับธุรกิจฟิตเนส ความงาม และบริการสุขภาพอื่น ๆ

องค์ประกอบทั้งหมดนี้ ทำให้เศรษฐกิจสุขภาพของไทยไม่เพียงตอบโจทย์ผู้บริโภคในประเทศ แต่ยังมีศักยภาพดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ เป็นโอกาสสำคัญในการผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลาง Wellness ระดับโลกในอนาคต

5 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักของ Wellness Economy ในประเทศไทย

ในปี 2023 ตลาดเศรษฐกิจสุขภาพของไทยแบ่งออกเป็น 10 กลุ่มย่อย โดยกลุ่มที่มีมูลค่าสูงที่สุดและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนตลาด 5 อันดับแรก ได้แก่

1. Tourism

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นกลุ่มที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในเศรษฐกิจสุขภาพของไทย โดยในปี 2023 มีจำนวนทริปมากถึง 13.48 ล้านครั้ง และสร้างมูลค่าการใช้จ่ายรวมสูงถึง 419,000 ล้านบาท ตลาดนี้มีความหลากหลายด้านรูปแบบการเดินทาง โดยสามารถแบ่งนักท่องเที่ยวออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • กลุ่ม Primary Trips สัดส่วน 6% นักท่องเที่ยวที่เดินทางเพื่อสุขภาพเป็นจุดมุ่งหมายหลัก เช่น การเข้าร่วมโปรแกรมดีท็อกซ์ (Detox Retreat), ค่ายโยคะ (Yoga Camp) หรือการฟื้นฟูสุขภาพหลังเจ็บป่วย
  • กลุ่ม Secondary Trips สัดส่วนกว่า 94% นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้ตั้งใจมาดูแลสุขภาพโดยตรง แต่เลือกทำกิจกรรมเชิงสุขภาพควบคู่ไปกับทริปท่องเที่ยว เช่น การเข้าคลาสโยคะ การเรียนทำอาหารเพื่อสุขภาพ หรือการใช้บริการสปาในรีสอร์ท

นอกจากนี้ ยังพบว่าคนไทยเองก็เป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก โดยคิดเป็น 60% ของการเดินทางทั้งหมด ขณะที่ชาวต่างชาติคิดเป็น 40% แสดงให้เห็นว่าตลาดภายในประเทศมีความต้องการสูง และเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาโครงการ Wellness ที่สามารถตอบโจทย์ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติไปพร้อมกัน

2. Nutritions & Weight Management

ตลาดนี้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสุขภาพและควบคุมน้ำหนักอย่างรอบด้าน แบ่งเป็น

  • 63% อาหารและเครื่องดื่มที่มีฉลากสุขภาพ (Healthy-labeled foods & beverages)
  • 25% วิตามินและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
  • 12% ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักและบริการที่เกี่ยวข้อง

ความนิยมในกลุ่มนี้สะท้อนถึงแนวโน้มผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทั้งจากความรู้ด้านโภชนาการที่เพิ่มขึ้นและไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ ส่งผลให้ธุรกิจอย่างร้านอาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องดื่ม Plant-based และบริการ Meal Plan แบบครบวงจร เติบโตอย่างรวดเร็วในกลุ่มคนเมือง

3. Aesthetics & Beauty

ตลาดความงามทั้งในด้านบริการและผลิตภัณฑ์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2023 มีมูลค่าสูงถึง 244,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 235,000 ล้านบาท ในปี 2019 หรือคิดเป็นการเติบโต 3.8%

ตลาดนี้ครอบคลุมตั้งแต่สกินแคร์ แฮร์แคร์ ไปจนถึงคลินิกความงาม แสดงให้เห็นถึงความต้องการดูแลตัวเองที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มองความงามเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นใจและภาพลักษณ์ในสังคม

4. Traditional & Complementary Medicine

ภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยและสมุนไพรของไทยเป็นจุดแข็งที่ทำให้ตลาดนี้เติบโตต่อเนื่อง โดยในปี 2023 มีมูลค่า 119,000 ล้านบาท เติบโตจาก 112,000 ล้านบาท ในปี 2019 หรือคิดเป็น 6.3% ตลาดนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  • กลุ่ม Medicines & Products เช่น ฟ้าทะลายโจร ยาหม่อง ยาดม ลูกประคบ สมุนไพรในรูปแบบแคปซูลหรือชงดื่ม
  • กลุ่ม Services & Practitioners เช่น การฝังเข็ม ครอบแก้ว การประคบสมุนไพร และแพทย์แผนจีน

ซึ่งความโดดเด่นของกลุ่มนี้อยู่ที่ความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ความเป็นธรรมชาติ และการรักษาแบบองค์รวม ซึ่งสอดคล้องกับเทรนด์ Holistic Wellness ทั่วโลก

5. Fitness & Physical Activities

ตลาดนี้สะท้อนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจในการออกกำลังกายและแฟชั่นแนวฟิตเนส กลุ่มนี้สะท้อนการเปลี่ยนผ่านจาก “การออกกำลังกายเป็นงานอดิเรก” ไปสู่ “ไลฟ์สไตล์เชิงสุขภาพ” อย่างเต็มรูปแบบ โดยมีสินค้าอย่างเสื้อผ้าและอุปกรณ์ฟิตเนสเป็นผู้นำตลาด (52%) รองลงมาคืออุปกรณ์ออกกำลังกาย (14%) รวมถึง กีฬาและกิจกรรมเพื่อสุขภาพอื่นๆ

Wellness Hotels: ธุรกิจโรงแรมสายสุขภาพบูมทั่วประเทศ

การเติบโตของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพยังส่งผลให้กลุ่มโรงแรมและรีสอร์ททั่วประเทศเริ่มหันมาพัฒนาแบรนด์ให้ตอบโจทย์ Wellness มากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ได้แก่

  • ภูเก็ต พังงา กระบี่ (45%)
  • เกาะสมุย (15%)
  • กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ (อย่างละ 10%)
  • หัวหิน เกาะกูด เขาใหญ่ และเมืองรองอื่นๆ

ทั้งนี้ โรงแรมที่มีโปรแกรม Wellness เริ่มต้นมีราคาตั้งแต่ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อคืน (37% ของตลาด) ไปจนถึงกลุ่มระดับพรีเมียมมากกว่า 20,000 บาทต่อคืน (30%)

นอกจากนี้ยังมีโครงการโรงแรมเชิงสุขภาพใหม่ที่น่าสนใจ ได้แก่

  • Fivlements, เกาะสมุย – รีสอร์ท Wellness ระดับไฮเอนด์ เปิดกลางปี 2026
  • Clinique La Prairie, ภูเก็ต – ศูนย์สุขภาพระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ คาดเปิดในปี 2025
  • Tiva Ao Makham, ภูเก็ต – โครงการโดยกลุ่ม Centara เปิดปลายปี 2025
  • BDMS Silver Wellness & Residence – โครงการ Mixed-use พร้อมศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ เปิดปี 2030

โดยในปัจจุบัน โรงแรม Wellness ในประเทศไทยยังเป็นแบบ Non-branded Hotels ถึง 62% ซึ่งแปลว่าแบรนด์โรงแรมใหม่ยังมีโอกาสเติบโตและแทรกตัวในตลาดได้อีกมาก

ประเทศไทยได้กลายเป็นหนึ่งในตลาดเศรษฐกิจสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ด้วยโครงสร้างพื้นฐานการท่องเที่ยวที่แข็งแกร่ง ภูมิประเทศหลากหลาย และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ไม่ว่าจะเป็นอาหาร สมุนไพร หรือการบริการแบบสปา

การเติบโตของตลาดนี้ไม่ได้เกิดจากการฟื้นตัวเพียงชั่วคราว แต่เป็นแนวโน้มระยะยาวที่สะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่ต้องการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในด้านการท่องเที่ยว ที่พัก อาหาร ความงาม ฟิตเนส และผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างรอบด้าน

สำหรับนักลงทุน ผู้ประกอบการ หรือผู้ที่สนใจในธุรกิจ Wellness ประเทศไทยในปี 2025 ไม่ได้เป็นเพียง “จุดหมายปลายทางท่องเที่ยว” อีกต่อไป แต่กำลังกลายเป็น “ศูนย์กลางสุขภาพระดับโลก” ที่เปิดกว้างสำหรับโอกาสใหม่ๆ อย่างไม่รู้จบ

Thailand’s Wellness Growth: Opportunities for the Health Industry

Thailand is entering a new era of the wellness economy, as reflected in the growing public interest in physical and mental health. This shift in lifestyle is evident in various aspects—from wellness travel that focuses on recovery, healthy eating, regular exercise to mindfulness. This trend was accelerated after the COVID-19 pandemic, as people became increasingly aware of and concerned about their well-being.

According to the Global Wellness Institute (GWI), Thailand’s wellness economy was valued at approximately THB 1,400 billion in 2023. The value nearly matches the pre-COVID level of THB 1,450 billion in 2019. The sector also experienced an average annual growth of 8.62?tween 2020 and 2023 which underscored the long-term growth potential of this industry.

Even though the market shrank to THB 940 billion during 2020–2021, it rebounded quickly. In 2023, the wellness market grew by an impressive 28% year-over-year. The key drivers of this recovery were the return of international tourists and the public’s heightened focus on health and wellness.

A major sector of the wellness industry is wellness tourism. The sector saw total spending soared to THB 419 billion in 2023—more than double the spending of THB 194 billion in 2022. The wellness mindset became part of daily life, influencing everything from food and fitness to fashion and mental health. For instance, the healthy-labeled food and beverage market reached a value of THB 198 billion in 2023 and had strong ties to fitness, beauty, and other wellness services.

These elements position Thailand’s wellness economy to serve not only the domestic market but also attract international visitors. This situation presents a major opportunity for Thailand to emerge as a global hub for health and wellness services.

The Five Major Sectors of Thailand’s Wellness Economy

In 2023, Thailand’s wellness economy was composed of 10 sub-sectors. The five most prominent ones, based on market size and economic contribution, were as followed:

1. Tourism

Wellness tourism holds the largest market share within Thailand’s wellness economy. In 2023, there were 13.48 million wellness-related trips, generating a total expenditure of THB 419 billion. This sector caters to a wide range of travelers and is divided into two key groups:

  • Primary Trips (6%)These are trips where health and wellness are the main objectives—such as detox retreats, yoga camps, or post-illness rehabilitation.
  • Secondary Trips (94%)For this trip, travelers may not start out with wellness in mind but engage in health-related activities during their trips, like yoga classes, healthy cooking workshops, or resort spa treatments.

Notably, Thai consumers made up 60% of all wellness-related travel, with foreign tourists accounting for the remaining 40%. This shows strong domestic demand and highlights the opportunity to develop wellness offerings that appeal to both local and international visitors.

2. Nutrition & Weight Management

This sector includes a wide range of health-supporting and weight-management products:

  • 63%: Healthy-labeled foods and beverages
  • 25%: Vitamins and supplements
  • 12%: Weight loss products and related services

The rising popularity of this segment is driven by increasing consumer awareness of nutrition and a fast-paced lifestyle, especially in urban areas. This led to the growth of businesses like health food cafes, plant-based beverages, and full-service meal planning platforms.

3. Aesthetics & Beauty

The beauty and aesthetics sector continues to grow steadily, reaching THB 244 billion in 2023—up from THB 235 billion in 2019 (a 3.8% increase). This sector comprises everything from skincare, haircare, to aesthetic clinics. It reflects the growing interest in self-care, particularly among the young consumers who view beauty as a key part of their personal confidence and social image.

4. Traditional & Complementary Medicine

Thailand’s rich heritage in traditional medicine and herbal remedies supports the ongoing growth of this sector, which is valued at THB 119 billion in 2023—up from THB 112 billion in 2019 (a 6.3% increase). The sector is divided into two main categories:

  • Medicines & Products: Herbal supplements such as Andrographis, balm, inhalers, herbal compresses, and teas.
  • Services & Practitioners: Treatments such as acupuncture, cupping, herbal compress therapy, and traditional Chinese medicine.

The strength of this sector lies in its connection to Thai culture, natural healing, and holistic care—an approach aligned with global trends in holistic wellness.

5. Fitness & Physical Activities

This sector represents a shift in consumer behavior—from viewing exercise as a hobby to embracing it as a full-fledged lifestyle. Key contributors include:

  • Fitness fashion and accessories (52%)
  • Exercise equipment (14%)
  • Sports and health-related activities

This trend reflects the growing emphasis on integrating wellness into everyday routines, supported by a booming market for activewear, fitness tech, and boutique gyms.

Wellness Hotels: A Booming Trend Across Thailand

The growth of wellness tourism has inspired hotels and resorts nationwide to rebrand and refocus on wellness. Popular wellness destinations include:

  • Phuket, Phang Nga, Krabi (45%)
  • Koh Samui (15%)
  • Bangkok and Chiang Mai (10?ch)
  • Hua Hin, Koh Kood, Khao Yai, and other secondary cities

Hotel rates for wellness stays vary, with 37% of the market offering rooms under THB 10,000 per night, while 30?ters to the premium segment at over THB 20,000 per night.

Some notable upcoming wellness hotel projects include:

  • Fivelements, Koh Samui – A luxury wellness resort set to open in mid-2026
  • Clinique La Prairie, Phuket – A Swiss-based global health center, expected to open in 2025
  • Tiva Ao Makham, Phuket – A Centara Group project opening in late 2025
  • BDMS Silver Wellness & Residence – A mixed-use development with senior care facilities, scheduled for 2030

Currently, 62% of Thailand’s wellness hotels are non-branded, thus signaling an opportunity for new brands to enter and thrive in this growing market.

Thailand’s Position in the Global Wellness Economy

With a strong tourism infrastructure, diverse geography, and a strong culture rooted in holistic well-being—including cuisine, herbal medicine, and spa traditions—Thailand has become one of the largest wellness markets in Asia-Pacific.

This growth is not merely a post-pandemic rebound but a long-term trend that aligns with the demands from today’s health-conscious consumers. It presents wide-ranging business opportunities in tourism, accommodation, food and beverage, beauty, fitness, and wellness products.

For investors, entrepreneurs, and wellness industry players, Thailand in 2025 is no longer just a “tourist destination.” It is rapidly evolving into a “global wellness hub” full of untapped potential and new possibilities.

Source : c9hotelworks

The Global Wellness Institute (GWI)

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก TERRABKK

A5 ผู้บุกเบิกความสำเร็จทำเลกรุงเทพกรีฑา สร้างปรากฏการณ์ Sold Out สวนกระแส เตรียมเปิดแบรนด์ใหม่ เสริมสร้างการเติบโต

1 วันที่แล้ว

คลังสินค้าไทยบูม ดาวรุ่ง แห่งอสังหาฯ จุดพลุลงทุนใน EEC & EV Hub

16 ก.ค. เวลา 07.21 น.

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวง อว. ผนึกกำลัง IAEAเปิดเวที "โรงเรียนโรงงานพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์มาตรฐานปลอดภัยขนาดเล็ก (SMR School)"

MATICHON ONLINE

การกินกระเทียมเพื่อลดไขมันแบบเห็นผล

Manager Online

บทเพลง รอยสัก ความรัก และ Dept ย้อนดูความทรงจำผ่านบทเพลง ก่อนฝังเป็นรอยสัก

ONCE

“ไพน์เฮิร์สท” ของดีเมืองปทุมฯ ครบทั้งกอล์ฟและไลฟ์สไตล์!

สยามรัฐวาไรตี้

ค่าใช้จ่ายศูนย์รับเลี้ยงเด็กอ่อน ต้องรู้อะไรบ้างก่อนวางแผนฝากลูก

new18

มูลนิธิรามาธิบดีฯ จับมือ 5 ศิลปินดัง ส่งต่อ “ความสุขไม่มีที่สิ้นสุด”

Manager Online

รู้จัก "นัตโตะ" ถั่วเน่าญี่ปุ่น ที่ประโยชน์ล้นเหลือ กินอย่างไรให้อร่อย แถมดีต่อสุขภาพ

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

Ozzy Osbourne ตำนานเจ้าชายความมืดแห่งวงการดนตรีเฮฟวีเมทัล

LSA Thailand

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...
Loading...
Loading...
Loading...