โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ทำความรู้จัก “CVS” โรคตาที่พบมากที่สุดในยุคโซเชียลมีเดีย

ฐานเศรษฐกิจ

อัพเดต 19 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โรคซีวีเอส หรือ Computer Vision Syndrome กลายเป็นโรคตาที่พบมากในยุคโซเชียลมีเดีย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซีวีเอสไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่มีผลกระทบ ที่สร้างความลำบากแก่ร่างกายในชีวิตประจำวันได้

CVS คืออะไร

Computer Vision Syndrome (CVS) คือกลุ่มอาการทางตาและการมองเห็นที่เกิดจากการใช้สายตาจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ต่อเนื่องหลายชั่วโมงต่อวัน การดูหน้าจอในที่มืด แสงสว่างไม่เพียงพอ ระยะห่างจากตาและหน้าจอไม่เหมาะสม รวมถึงสภาพอากาศที่สามารถทำให้ตาแห้ง โดยอาการจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นตามระยะเวลาการใช้งาน

สาเหตุ

1.การใช้สายตาในระยะใกล้ถึงกลาง กล้ามเนื้อตาจะมีการเพ่งเพื่อให้ภาพคมชัด ทำให้การกระพริบตาลดลง เกิดอาการตาแห้ง ถ้าปล่อยให้ตาแห้งมากๆอาจทำให้กระจกตาถลอกตามมาด้วย ซึ่งอาจส่งผลต่อการมองเห็น

2.สิ่งแวดล้อมในขณะใช้สายตา เช่น

  • แสงไฟไม่เพียงพอ
  • ระยะห่างของหน้าจอไม่เหมาะสม
  • ความสว่างหรือแสงสะท้อนจากหน้าจอมากเกินไป
  • แอร์หรือพัดลม แรงและจ่อหน้า

ปัจจัยเหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เกิดอาการตาแห้งและตาล้าตามมา

3. ลักษณะทางกายภาพ เช่น ท่านั่งไม่เหมาะสม ก้มหน้าหรือเงยหน้ามากเกินไป ทำให้มีอาการปวดคอบ่าไหล่และหลังได้

อาการ

  • แสบตา ระคายเคืองตา
  • ตาแดง
  • ตาสู้แสงไม่ได้
  • ตาแห้ง
  • ตาล้า
  • ตาพร่า มองไม่ชัด
  • มองเห็นภาพซ้อน
  • ปวดกระบอกตา
  • ปวดเมื่อย คอ หลัง
  • ปวดศีรษะ ,เวียนศีรษะ

ภาวะแทรกซ้อนจาก CVS

หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานโดยไม่ได้รับการแก้ไข โรคซีวีเอสอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางตาอื่น ๆ และส่งผลต่อข้อต่อ กล้ามเนื้อของร่างกาย เช่น

  • ภาวะตาแห้ง ตาล้าเรื้อรัง
  • อาการปวดศีรษะ จากการใช้สายตาเพ่งหน้าจอ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลัง ซึ่งมีสาเหตุจากท่านั่งทำงานหรือดูจอ ที่ไม่เหมาะสม

กลุ่มเสี่ยงของโรค CVS มีใครบ้าง

  • กลุ่มคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • กลุ่มคนตัดต่อกราฟฟิก ตัดต่อวิดีโอ
  • นักเขียน
  • กลุ่มพนักงานออฟฟิศ
  • นักเรียน นักศึกษาที่ต้องอ่านหนังสือและใช้หน้าจอในการเรียน
  • กลุ่มที่ทำธุรกิจผ่านมือถือ เช่น แม่ค้าออนไลน์ ประชุมออนไลน์

การป้องกันและรักษา CVS

CVS เป็นโรคที่สามารถป้องกันโดยการปรับพฤติกรรมได้ การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ที่สม่ำเสมอสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้ง่ายๆด้วยวิธีดังนี้

  • กฎ20-20-20 พักสายตาจากการใช้งานหน้าจอทุกๆ 20 นาที พัก 20 วินาที มองไกล 20 ฟุต หรือหลับตา
  • ปรับระยะจากสายตาและหน้าจอให้เหมาะสม ไม่ใกล้หรือไกลเกินไป
  • ปรับแสงหน้าจอให้มีความสว่าง คมชัดพอดี เลี่ยงการใช้หน้าจอในที่มืด
  • การกระพริบตาสม่ำเสมอ ช่วยรักษาความชุ่มชื่นของดวงตา
  • หยอดน้ำตาเทียม เพิ่มความชุ่มชื้นของดวงตา
  • ปรับท่านั่งให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่
  • ตรวจสายตาและพบจักษุแพทย์เป็นประจำทุกๆ 6 เดือน
  • ทุกๆ 2 ชม.ควรหยุดพัก15 นาที เพื่อลดการจ้องหน้าจอ

CVS อาจไม่ใช่โรคอันตรายที่เกิดผลทันที แต่หากปล่อยไว้โดยไม่แก้ไข ก็สามารถสร้างปัญหาระยะยาวต่อสุขภาพได้ การดูแลสายตาและปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับคำแนะนำของจักษุแพทย์ ก็จะช่วยถนอมและยืดอายุการใช้งานของดวงตาให้อยู่กับเราได้นาน

ขอบคุณ : แพทย์หญิงภาวินี อมรพันธางค์ แพทย์ผู้ชำนาญการพิเศษ สาขาจักษุวิทยา โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ฐานเศรษฐกิจ

แผน “จักรพงษ์ภูวนาถ” คืออะไร หลังกองทัพไทยสั่งใช้ตอบโต้กัมพูชา

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

พรรคเพื่อไทย ประณามเหตุลอบวางทุ่นระเบิดช่องอานม้า ชายแดนไทย-กัมพูชา

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เปิดรายชื่อ 5 ทหารไทยได้รับบาดเจ็บเหตุเหยียบกับระเบิดล่าสุด

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

นกแอร์ เหลือหนี้ 400 ล้าน ตั้งเป้าออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ กลางปี 2571

2 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่นๆ

เช็คเลย! อาการแบบนี้ร่างกายกำลังขาดวิตามิน

สยามรัฐวาไรตี้

รักษาหลุมสิวใช้เวลานานไหม ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง

new18
วิดีโอ

เตือนสายไดเอต! เด็กสาววัย 16 เกือบเอาชีวิตไม่รอด หลังใช้วิธีลดน้ำหนักสุดโหด

WeR NEWS

ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันร้ายไม่แสดงอาการ รู้ตัวอีกทีโรคเพียบ

Amarin TV

ครีมกันแดด Chemical VS Mineral: ดูดซับ VS สะท้อน รังสียูวี จริงหรือ !?

Amarin TV

ดราม่าประกัน เมื่อ Co-Payment กลับกลายเป็นดาบคม ทิ่มแทงผู้ซื้อประกัน ?

BT Beartai

สุ่มตรวจเวชระเบียน ช่วยสร้างความเป็นธรรม ลดการรักษาเกินจำเป็น

ฐานเศรษฐกิจ

CIB ผนึก อย. บุกลาดกระบังทลายโกดังสินค้าจีน พบของใช้ในครัวเรือน - เครื่องสำอางเถื่อนเพียบ

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...