โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

‘จากแข็งแกร่ง กลายเป็นฉุดรั้ง’ เมื่อจุดแข็งที่เรามีเปลี่ยนไปเป็นจุดอ่อนต่อการทำงาน

The MATTER

อัพเดต 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Lifestyle

“พี่ของานเร็วกว่านี้หน่อยได้ไหม”

แต่ก่อนการเป็นคนละเอียดของเรา คือจุดแข็งที่หลายคนในที่ทำงานไม่มี พอเวลาผ่านไป สิ่งที่เราคิดว่าจะเป็นข้อได้เปรียบดันเป็นจุดอ่อนไปเสียได้ เราที่เคยทำงานด้วยความละเอียดถี่ถ้วน เก็บครบทุกเม็ด กลับกลายเป็นคนทำงานช้าไม่ทันเพื่อน แม้จะมั่นใจว่างานเราไม่มีผิดพลาด แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังโดนหัวหน้าตำหนิอยู่ดี

พอโดนหัวหน้าคอมเมนต์หรือตำหนิที แทบไปไม่เป็นเลย ความมั่นใจที่เคยมีก็หดหาย หลายครั้งแอบสับสนกับตัวเองอยู่เหมือนกันนะ ว่าจุดแข็งของเราที่มียังนับเป็นจุดแข็งอยู่ใช่ไหมนะ หรือมันได้เปลี่ยนกลายเป็นจุดอ่อนที่กระทบต่อการทำงานไปแล้ว แบบนี้เราจะทำยังไงดี?

เมื่อจุดแข็งแปลงเป็นจุดอ่อน

ก่อนจะไปถึงวิธีรับมือ เราลองมาทำความเข้าใจกันสักนิดก่อนดีกว่า ว่าจุดแข็งที่เราเคยมั่นใจนักมั่นใจหนากลายเป็นจุดอ่อนไปได้อย่างไร แล้วอะไรทำให้มันเปลี่ยนไปกัน

หลายคนอาจคิดว่า การที่จุดแข็งของเราเปลี่ยนไปเป็นจุดอ่อน เกิดจากทักษะเหล่านั้นของเราด้อยลงหรือเปล่า ทว่าจริงๆ แล้วมันไม่ได้เกี่ยวข้องกับทักษะ หรือจุดแข็งต่างๆ ของเราเสียทีเดียว เพราะตัวแปรหลักคือ ‘ตัวเรา’ และ ‘บริบท’ ซึ่งอาจเปลี่ยนไปมากกว่า

อดัม แกรนต์ (Adam Grant) นักจิตวิทยาองค์กร ผู้จัด Ted Talk เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่า บางครั้งในการทำงาน เราอาจใช้จุดแข็งของเรามากจนเกินไป หรือไม่ได้คำนึงต่อบริบทหรือสถานการณ์โดยรอบ จนทำให้สิ่งเหล่านั้นกลายเป็นจุดอ่อนได้โดยที่เราไม่รู้ตัว

ตัวอย่างทักษะที่อดัมได้ยกตัวอย่างให้เราเห็นว่า หากมีมากเกินไป หรือใช้ไม่เหมาะสมตามบริบท จะกระทบต่อการทำงานได้ เช่น

เป็นคนพูดเก่งและกล้าแสดงออก

บางคนอาจพูดมากเกินไป ไม่เปิดช่องว่างให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นได้พูดเสริมขึ้นมา จนทำให้เกิดบรรยากาศที่คนอื่นรู้สึกไม่กล้าร่วมวงสนทนา หรือรู้สึกว่าเสียงของตนไม่มีความสำคัญ

เป็นผู้ฟังที่ดี

การเป็นผู้ฟังที่ดี ถือเป็นทักษะสำคัญในการทำงาน แต่หากมากเกินไปก็ทำให้เราไม่ได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง นานวันเข้าเพื่อนร่วมงานคนอื่นอาจมองว่าเราไม่มีจุดยืน หรือไม่กล้าตัดสินใจในประเด็นสำคัญ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว เราเองก็มีมุมมองที่มีคุณค่าต่อทีมมากเหมือนกัน

เห็นอกเห็นใจผู้อื่น

เราอาจเป็นคนที่มีความรู้สึกเห็นใจผู้อื่น ซึ่งนี่ถือเป็นทักษะที่ดีในการทำงาน แต่เมื่อเราเห็นใจคนอื่นมากเกินไป ก็อาจเป็นการเปิดช่องโหว่ให้คนอื่นมาเอาเปรียบ หรือไม่เคารพตัวเราเองได้ เพราะคิดว่าเราใจดีและชอบช่วยเหลือนั่นเอง

ทำงานละเอียดรอบคอบ

ก็ดีเหมือนกันนะ ถ้าเราจะเป็นคนทำงานละเอียด ตรวจสอบทุกอย่างถี่ถ้วนเสมอ แต่พอเวลาไหนที่เร่งรีบ หรือมีงานเข้ามาเยอะ จุดแข็งนี้อาจทำให้เรากลายเป็นคนล่าช้า จนทำงานเสร็จไม่ทันกำหนด

ทั้งนี้เนื้อหาจาก Ted Talk ของอดัมก็ได้สอดคล้องไปกับงานวิจัยจาก Consulting Psychology Journal: Practice and Research ซึ่งพูดถึงการใช้ทักษะหรือจุดแข็งมากเกินไปในการทำงาน โดยไม่คำนึงต่อบริบทโดยรอบ ว่ามันมีแนวโน้มทำให้จุดแข็งเหล่านั้นเปลี่ยนไปเป็นจุดอ่อนได้ เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องระมัดระวังการใช้จุดแข็งที่มากเกินไปอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตาม อาจไม่ใช่เฉพาะทักษะอันเป็นจุดแข็งของเราเพียงเท่านั้น แต่หลายๆ ทักษะสำคัญในการทำงาน เช่น การเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนอย่างที่กล่าวไปในช่วงต้น ซึ่งหากมีมากไปก็อาจทำให้งานเสร็จล่าช้าได้ แล้วยิ่งเป็นช่วงโปรเจ็กต์เร่งรีบ เราก็คงต้องเร่งการทำงานของเราตามไปด้วย หรือกระทั่งจุดอ่อนอันเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกเรา เช่น ความมั่นใจ บางครั้งหากเรามีความมั่นใจมากจนเกินไปจนไม่ยอมรับฟังคนอื่น สุดท้ายสิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นภาพลักษณ์ด้านลบ แทนที่จะช่วยส่งเสริมเรา

ถ้าจุดแข็งของเรากลายเป็นจุดอ่อนจะทำยังไงดี?

แม้เราจะเข้าใจแล้วว่า จุดแข็งที่เคยภาคภูมิใจ วันนี้ก็สามารถกลายเป็นจุดอ่อนได้เช่นกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็อย่าเพิ่งหมดความมั่นใจไป เพราะสิ่งเหล่านั้นยังคงมีคุณค่าอยู่เสมอ เพียงแค่ต้องเรียนรู้วิธีใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์เท่านั้นเอง

เพื่อไม่ให้ความมั่นใจที่เรามีหดหายไปไหน เราจึงขอนำเสนอวิธีช่วยปรับตัวเมื่อจุดแข็งของเราอาจใช้งานไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าแต่ก่อน จาก University of Minisota ซึ่งอาจจะช่วยให้ทุกคนได้พัฒนาตนเอง รวมถึงทักษะอื่นๆ ต่อไปได้

รู้จักตัวเองว่าเรามีจุดแข็งและจุดอ่อนอะไร

ต่อให้จุดแข็งของเราจะไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ทำอยู่เหมือนเดิม ก็ไม่ต้องกังวลใจไป ลองมานั่งเช็กลิสต์กันดีกว่า ว่าตอนนี้เรามีจุดแข็งอื่นๆ หรือจุดอ่อนอะไรที่ต้องพัฒนามากขึ้นไหม เพื่อเป็นการทบทวนตัวเราเองว่า เราควรจะพัฒนาในด้านไหนต่อไปให้ดีขึ้นบ้าง

ตัวอย่างเช่น เราอาจค้นพบว่าตัวเองเป็นคนพูดเก่ง แต่เป็นผู้ฟังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ต่อไปเราอาจลองพัฒนาทักษะการเป็นผู้ฟังที่ดีขึ้นมาใช้งานควบคู่กัน

ขอฟีดแบ็กการทำงานของเราอย่างตรงไปตรงมา

เราไม่มีทางรู้เลยว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้นดีพอแล้วหรือไม่ เพราะฉะนั้นการขอฟีดแบ็ก หรือคำติชมอย่างตรงไปตรงมา อาจช่วยให้เรามองเห็นได้ว่า ทักษะหรือจุดแข็งที่เรามีอยู่นั้นมีประโยชน์ หรือสร้างโทษให้กับเรามากกว่าแทน โดยตัวเราเองก็ต้องเปิดใจพร้อมรับฟังอีกฝ่ายอย่างเป็นมืออาชีพด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น เราอาจไม่รู้ตัวว่าเราทำงานละเอียดจนเกินไปจนกระบวนการล่าช้า ก็อาจลองพูดคุยแลกเปลี่ยนกับหัวหน้าดู เพื่อให้เราได้ย้อนกลับมาสังเกตตัวเอง แล้วหาวิธีปรับปรุงต่อไป

เปลี่ยนให้กลับมาเป็นจุดแข็งดังเดิม

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้จุดแข็งของเรากลายเป็นจุดอ่อนในการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น หากปัญหาเกิดจากการที่เราใช้จุดแข็งมากเกินไป เราอาจลองลดระดับการใช้ลง เพื่อให้มันกลับมาอยู่ในจุดที่เหมาะสม หรือถ้าเราพบว่าสิ่งที่เรามีไม่สอดคล้องกับบริบทหรือสถานการณ์ ก็อาจเลือกไม่ใช้ หรือใช้ให้น้อยลงในช่วงเวลานั้น เพื่อรักษาคุณค่าของมันไว้แทน

ตัวอย่างเช่น หากมีคนบอกว่าเราดูมั่นใจมากเกินไป จนไม่เปิดโอกาสให้คนอื่นแสดงความคิดเห็นเลย เราอาจลองปรับระดับความมั่นใจของตัวเองให้พอดี ฟังให้มากขึ้น เพื่อให้จุดแข็งด้านความมั่นใจของเรายังเป็นพลังบวก ไม่กลายเป็นสิ่งที่คนรอบตัวรู้สึกต่อต้าน

พัฒนาทักษะอื่นๆ เพิ่มเติมให้กลายมาเป็นจุดแข็งด้วย

ในชีวิตการทำงาน คงจะดีกว่าหากเรามีจุดแข็งอื่นๆ เพิ่มเติมจากเดิมที่เคยมีอยู่ เพราะมันจะช่วยให้เรามีความโดดเด่น และสามารถรับมือกับโจทย์งานที่หลากหลายมากขึ้น โดยเราอาจลองพัฒนาขึ้นมาจากการทำสิ่งเล็กๆ ในที่ทำงานได้

ตัวอย่างเช่น ฝึกคิดอย่างรวดเร็ว หรือยกมือเสนอความเห็นมากขึ้นเพื่อให้เป็นคนกล้าแสดงออกมากขึ้น หรือหากเราเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน ก็อาจลองฝึกความกล้าที่จะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมทีมให้เขามาช่วยตรวจสอบดู นี่อาจช่วยให้งานเราเสร็จทันเวลามากขึ้น และยังคงประสิทธิภาพดังเดิมได้ แถมไม่เหนื่อยเราจนเกินไปด้วย

ท้ายที่สุดแล้ว การมีจุดแข็งในการทำงานเป็นสิ่งดี แต่บางทักษะถ้าถูกใช้มากเกินไปก็อาจกลายเป็นดาบสองคมได้ ดังนั้น เมื่อรู้ว่าจุดแข็งของเราเริ่มส่งผลกระทบเชิงลบต่อการทำงาน ก็ควรมองหาจุดสมดุลในการใช้มัน พร้อมกับเปิดรับการพัฒนาทักษะใหม่ๆ ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของเราในอนาคต

อย่าเพิ่งหมดความมั่นใจไปเมื่อวันนี้จุดแข็งที่เคยมีกลายเป็นจุดอ่อน เพราะสิ่งเหล่านี้ยังคงมีคุณค่ากับเราเสมอ เพียงแต่อาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีใช้งานมันเท่านั้นเอง

อ้างอิงจาก

linkedin.com

hr.umn.edu

researchgate.net

medium.com

Graphic Designer: Phitsacha Thanawanichnam
Editorial Staff: Taksaporn Koohakan

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก The MATTER

‘The Bear’ ซีซั่น 4 เรื่องของครัววายป่วง กับการยอมรับว่าเราเองก็คู่ควรกับความสุข

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อยากยินดี แต่บางทีก็ยิ้มไม่ออก ทำยังไงถ้าเราไม่ชอบแฟนใหม่ของพ่อแม่

8 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

ตรวจเลือดไขมันสูง ควรโฟกัสอะไรเป็นอันดับแรก? เปิด 6 อาหารช่วยเรื่องพุงยุบ

THE POINT

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมุ่งมั่นนำความรู้วิทยาศาสตร์พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน

กรุงเทพธุรกิจ

SUM MAT เปลี่ยนภาพเสื่อจันทบูรสุริยาแห่งบางสระเก้าสู่งานคราฟต์ไลฟ์สไตล์

ONCE

งามไส้ “เที่ยวไทยคนละครึ่ง” ชาวเน็ตด่ายับ ระบบห่วย หรือคนทำห่วย?

Manager Online

THAINOSAUR นิทรรศการที่เนรมิตไดโนเสาร์พันธุ์ไทยและสัตว์ดึกดำบรรพ์ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

Sarakadee Lite

เช็กด่วน! 4 พฤติกรรมเร่งภาวะเส้นเลือดสมองแตก หลายคนชะล่าใจทำอยู่ทุกวัน

คมชัดลึกออนไลน์

Death Stranding 2: On The Beach - เมื่อในที่สุดมนุษย์ต่างเชื่อมโยงถึงกันแล้วโลกหลังจากนั้นจะเป็นยังไงต่อ

Thairath Plus - ไทยรัฐพลัส

พักผ่อนท่ามกลางอ้อมกอดของขุนเขา สัมผัสธรรมชาติและผืนป่า ที่ "อนันตรา สามเหลี่ยมทองคำ เชียงราย"

Manager Online

ข่าวและบทความยอดนิยม

อยากยินดี แต่บางทีก็ยิ้มไม่ออก ทำยังไงถ้าเราไม่ชอบแฟนใหม่ของพ่อแม่

The MATTER

ทำธุรกิจกับเพื่อนซี้ จะซี้แหงแก๋ไหม? อะไรคือข้อควรระวัง เพื่อไม่ให้ความสัมพันธ์ต้องบาดหมาง

The MATTER

‘ยิ่งไม่ได้ลงเอยด้วยกัน ยิ่งสวยงาม’ ทำไมการไม่ปรารถนาจะครอบครองกันถึงโรแมนติก?

The MATTER
ดูเพิ่ม
Loading...