โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

คำว่า มรสุม มาจากไหน? เปิดที่มาชื่อลมประจำฤดู 2 ชนิดของไทย

ศิลปวัฒนธรรม

อัพเดต 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 11 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ภาพกรุงศรีอยุธยาท่ามกลางพายุ โดยฟาน เดอ อา เป็นภาพมุมกว้างที่มองจากหมู่บ้านวิลันดาของฮอลันดา (ภาพจากกรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง โดย ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช)

คำว่า มรสุม ลมประจำฤดูของประเทศไทย คำนี้มีที่มาจากไหน?

คำศัพท์ในข่าวพยากรณ์อากาศที่มักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ได้ยินได้เห็นตลอดทั้งปีนั่นก็คือคำว่า มรสุม หรือลมประจำฤดูของประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิดคือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

มรสุมเกิดจากความแตกต่างกันระหว่างอุณหภูมิพื้นทวีปกับพื้นสมุทร ในฤดูหนาว อุณหภูมิพื้นทวีปเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในพื้นสมุทร อากาศเหนือพื้นสมุทรที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจึงลอยตัวขึ้นสู่ด้านบน อากาศเหนือพื้นทวีปซึ่งเย็นกว่าก็จะไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากพื้นทวีป เรียก “มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” เกิดขึ้นประมาณกลางเดือนตุลาคมจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

ทางกลับกัน ในฤดูร้อน อุณหภูมิพื้นทวีปร้อนกว่าอุณหภูมิของน้ำในพื้นสมุทร อากาศเหนือพื้นทวีปที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจึงลอยตัวขึ้นสู่ด้านบน อากาศเหนือพื้นสมุทรซึ่งเย็นกว่าก็จะไหลไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดเข้าหาพื้นทวีป เรียก “มรสุมตะวันตกเฉียงใต้” เกิดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนตุลาคม

คำว่า มรสุม แท้จริงแล้วไม่ใช่คำไทยแท้ แต่คำนี้เพี้ยนมาจากคำว่า Mausim หรือ Mausam ในภาษาอาหรับ ซึ่งแปลว่า ลมประจำฤดู

ต้นเค้าอันเก่าแก่ของคำนี้ได้รับการบัญญัติโดย al-Masʿūdī (ค.ศ. 893-956) นักประวัติศาสตร์และนักผจญภัยชาวอาหรับ ที่มีฉายาว่า “เฮโรโดตัสแห่งอาหรับ” (Herodotus of the Arabs) ซึ่งเคยกล่าวถึงการใช้มรสุมสำหรับการเดินเรือระหว่างแอฟริกา อาหรับ อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

มรสุมจึงเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดีของชนชาติต่างๆ โดยรอบมหาสมุทรอินเดีย จนเมื่อโปรตุเกสชาวยุโรปชาติแรกเดินทางมายังดินแดนแถบนี้ พวกเขาก็ต้องอาศัยมรสุมสำหรับเดินเรือเช่นกัน พวกเขาจึงรับเอาคำว่า Mausim ไปใช้เช่นเดียวกัน นั่นคือคำว่า Moncàos

และคำว่ามรสุม ในภาษาอังกฤษก็ใช้ว่า Monsoon ซึ่งทั้ง มรสุม Moncàos และ Monsoon ก็ต่างมีที่มาจากภาษาอาหรับ Mausim นั่นเอง

แล้วมรสุมในดินแดนประเทศไทยมีบันทึกไว้ในเอกสารโบราณอย่างไรบ้าง?

ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์แห่งกรุงศรีอยุธยา บันทึกถึงมรสุมเอาไว้ว่า

“มรสุม

ฤดูหนาวของสยามนั้นเป็นหน้าแล้งอากาศแห้ง และฤดูร้อนของสยามฝนตกชุก ไม่เป็นที่น่าสงสัยเลยว่าบ้านเมืองในเขตโซนร้อนนั้น คงจะไม่เป็นที่น่าอยู่อาศัยเป็นแน่ ดังที่คนโบราณเชื่อกันว่าถ้าปราศจากเสียซึ่งเทวานุภาพอันประเสริฐนี้ โดยบันดาลให้ดวงอาทิตย์นำมาซึ่งเมฆและฝน และลมก็พัดมาอยู่มิได้ขาดจากทางขั้วโลกใดโลกหนึ่งเป็นนิจสิน ในขณะดวงอาทิตย์โคจรไปสถิตอยู่ในฟากตรงกันข้าม

ฉะนั้นในฤดูหนาวของสยาม ดวงอาทิตย์อยู่ทางทิศใต้ของเส้นศูนย์สูตรหรือแถบขั้วโลกด้านอันตาร์กติค ก็จะมีลมเหนือพัดโชยมาทำให้อากาศเย็นสดชื่น ในฤดูร้อนเมื่อดวงอาทิตย์สถิตเหนือเส้นศูนย์สูตรคือตะวันตรงหัวของชาวสยาม ลมทิศใต้ก็จะพัดผ่านมาชักให้ฝนตกติดต่อกัน หรือว่ากันอย่างที่สุดฤดูกาลก็ได้เปลี่ยนเป็นหน้าฝนไป จนทำให้คนเป็นอันมากสนเท่ห์ว่า ควรจะเรียกหน้าฝนว่าเป็นฤดูหนาวของสยามได้ดอกกระมัง

อาการที่ลมประจำโลกเป็นอยู่เช่นว่านี้แลที่ชาวปอรตุเกศเรียกว่า มองเซาส์ (Moncàos) แล้วเรานำมาใช้เรียก มูซอง (Mouconsmotiones aëris) ตามที่ Ozorius หลวงพ่อมาฟเฟ เรียก และข้อนี้เองเป็นสาเหตุทำให้เรือกำปั่นเข้าถึงสันดอนปากน้ำสยามได้โดยยาก ในระยะหกเดือนที่มีมรสุมพัดมาจากทิศเหนือ และยากที่จะออกจากปากน้ำในระยะหกเดือนที่มีมรสุมพัดมาจากทิศใต้…”

มรสุมจึงเป็นลมประจำฤดูที่สำคัญต่อการเดินทางและการค้าขายของดินแดนแถบนี้มาตั้งแต่อดีต สอดคล้องกับบันทึกของ นิโกลาส์ แชร์แวส บาทหลวงฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์อีกเช่นกัน ที่กล่าวถึงความสำคัญของมรสุมไว้ว่า

“ฤดูที่มีลมพัดมาจากทางทิศใต้นั้น เป็นฤดูที่อำนวยประโยชน์แก่การเดินเรือเข้ามาสู่ท่าเรือในประเทศสยามมาก ซึ่งถ้าขาดลมนี้เสียแล้ว ลางทีจะต้องลอยลำอยู่กลางทะเลตั้ง 2-3 เดือน โดยที่ยังเข้าฝั่งไม่ได้…”

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่

อ้างอิง :

มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เขียน. สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. (2548). จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา.

นิโกลาส์ แชรแวส เขียน, สันต์ ท. โกมลบุตร แปล. (2550). “ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม (ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ศรีปัญญา.

กรมอุตุนิยมวิทยา. (2567). ลมมรสุม. เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567, จาก https://tmd.go.th/info/%E0%B8%A5%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1

Chandrakala M. (2021). Monsoons – The Lifeline of the Indian Subcontinent. Accessed 16 September 2024, from https://blog.indicinspirations.com/monsoons-explained-through-the-ages/

John A. Haywood. (2024). al-Masʿūdī. Accessed 16 September 2024, from https://www.britannica.com/biography/al-Masudi

เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 16 กันยายน 2567

อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : คำว่า มรสุม มาจากไหน? เปิดที่มาชื่อลมประจำฤดู 2 ชนิดของไทย

ติดตามข่าวล่าสุดได้ทุกวัน ที่นี่
– Website : https://www.silpa-mag.com

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก ศิลปวัฒนธรรม

พระสมุทรเจดีย์ เมืองสมุทรปราการ สร้างสมัย ร. 2 แลนด์มาร์กสยามประเทศ

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“สังวาล” พระพุทธชินราช ของใหม่ที่ใส่ประดับองค์พระสมัยหลัง มาจากไหน?

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

กรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ 2) ทรงทำอะไร? ในศึกใหญ่ “สงคราม 9 ทัพ”

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

“ธนบุรี” ถิ่นหนูชุม! เพราะพระเจ้าตากฯ ไม่โปรดให้เลี้ยง “แมว” จนเกิดเรื่องยุ่งในวัง!?

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไลฟ์สไตล์อื่น ๆ

เปิดเหตุผล! ทำไมถึงต้องดูซีรีส์ GL เรื่อง “Mission Love or Lies ภารกิจลวงรัก”

Insight Daily

ไม่อยากแก่ฟังทางนี้ ! ชวนดูสิ่งที่ควรทำ ถ้ายังไม่อยากแก่

SistaCafe

สภากาชาดไทยเปิดช่องทางบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยชายแดนไทยกัมพูชา

Thairath - ไทยรัฐออนไลน์

หนังใหม่ 2025 : เตรียมระเบิดภูเขาเผากระท่อม “เขาชุมทอง คะนองชุมโจร”

PPTV HD 36

พุทธวิถีในยุค...พระเก๊ เงินแท้... จากภาพยนต์ไทยเรื่อง THE STONE (เดอะสโตน พระแท้ คนเก๊)

กรุงเทพธุรกิจ

ภาพหาชมยาก "หลวงพ่อใหญ่" วัดม่วง อ่างทอง บูรณะทาสีใหม่

Manager Online

พิพิธภัณฑ์ THE MET ในนิวยอร์กมีผู้เยี่ยมชมกว่า 5.7 ล้านคนในปีงบประมาณ 2025

THE STANDARD

‘หน้าร้อนที่ฮิคารุจากไป' เควียร์และการเติบโตในความแปลกแยก ใต้คราบของคอสมิคเฮอเรอร์

The MATTER

ข่าวและบทความยอดนิยม

คำว่า มรสุม มาจากไหน? เปิดที่มาชื่อลมประจำฤดู 2 ชนิดของไทย

ศิลปวัฒนธรรม

เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย พระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 ที่มาชื่อถนนพาหุรัด

ศิลปวัฒนธรรม

วิลเลียม โพวนีย์ กัปตันชาวอังกฤษร่วมไทยสู้ศึกพม่า เมื่อก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2

ศิลปวัฒนธรรม
ดูเพิ่ม
Loading...