โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

‘ดร.เสรี’ แนะ 3 ข้อจำให้ขึ้นใจ ‘แผ่นดินไหว-สึนามิ’ เพื่อเอาชีวิตรอดได้ทันเวลา

เดลินิวส์

อัพเดต 28 นาทีที่แล้ว • เผยแพร่ 7 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เดลินิวส์
“ดร.เสรี” ชี้ว่าแม้โอกาสเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงจะน้อย แต่ก็อย่าประมาท พร้อมแนะให้จดจำ 3 สัญญาณเตือนภัยง่ายๆ ที่อาจช่วยชีวิตคุณได้ทันที

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 68 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ออกมาโพสต์เตือนประชาชน ลงในแฟนเพจ"รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์" ตระหนักแต่ไม่ตระหนกกับข่าวแผ่นดินไหวและสึนามิ พร้อมเน้นว่าแม้แผ่นดินไหวจะคาดการณ์ไม่ได้ แต่ต้องตระหนักกับความรุนแรง และความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจึงต้องจำ 3 ประโยค “อาคารสั่นไหว ระดับน้ำลดทันใด วิ่งให้ไกลไปที่สูง”

โดยรศ.ดร.เสรี ระบุข้อความว่า "ระยะนี้ข่าวของแผ่นดินไหว และคลื่นสึนามิหลายๆ แหล่งออกมามากมาย ให้อ่านผ่านตา และไม่ต้องตระหนกตกใจ ข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ขนาดมากกว่า M4 บริเวณหมู่เกาะอันดามัน และนิโคบาร์โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 50 ครั้ง สูงสุดขนาด 6M.1 ในปี 2563 แผ่นดินไหวคาดการณ์ไม่ได้ แต่ต้องตระหนักกับความรุนแรง และความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจึงต้องจำ 3 ประโยค “อาคารสั่นไหว ระดับน้ำลดทันใด วิ่งให้ไกลไปที่สูง” นะครับ"

นอกจากนี้ "อย่าเบื่อที่จะต้องจำ เนื่องจากแผ่นดินไหวรุนแรง M9.2 ในปี 2547 ที่จะทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีรอบการเกิด >400 ปี สุภาษิตของประเทศญี่ปุ่น“ภัยพิบัติจะมาเมื่อเราลืมมัน” ในฐานะที่เป็นคนออกสำรวจ และประเมินความรุนแรงคลื่นสึนามิ ในเหตุการณ์ปี 2547 เป็นผู้นำเอาองค์ความรู้มาเผยแพร่ตั้งแต่ปี 2542 รวมทั้งได้มีการเขียนตำรา“วิศวกรรมสึนามิ” และปัจจุบันได้รับมอบหมายจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้มาดูแลปรับปรุงระบบเตือนภัยของประเทศ ขอยืนยันกับพี่น้องคนไทยว่า ปัจจุบันศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีความพร้อมในระดับสากลในการเฝ้าระวัง และเตือนภัยคลื่นสึนามิตลอด 24 ชั่วโมง"

โดยมีเครื่องมือ ดังต่อไปนี้
1. ระบบตรวจจับคลื่นโดยทุ่นน้ำลึก และสถานีวัดน้ำ
2. ระบบประเมิน และวิเคราะห์คลื่นโดยฐานข้อมูล
3. ระบบการสื่อสาร โดยเฉพาะ Cell Broadcast

อย่างไรก็ตาม"อยากจะเรียนทุกท่านว่า แม้ประเทศไทยจะมีระบบเตือนภัยที่ดี ไม่ได้หมายความว่าการเตือนภัยจะมีประสิทธิผล ดังกรณีเหตุการณ์นอกเหนือความคาดหมายที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2554 เพราะความสำคัญสูงสุดอยู่ที่ชุมชน หากปราศจากความตระหนัก ย่อมเกิดความสูญเสียตามมาได้ กล่าวคือชุมชนเข้มแข็งมีความยืดหยุ่นต่อสึนามิ ต้องมีองค์ประกอบตามรูปจิ๊กซอว์ที่แนบมา ชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยคลื่นสึนามิลองศึกษา และทำความเข้าใจดูนะครับ"

ขอบคุณข้อมูล : "รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์"

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก เดลินิวส์

‘อิงฟ้า’ โหมงานหนักพันกว่าวัน เตรียมเกษียณ ลั่นบั้นปลายชีวิตไม่อยากใช้เงินที่ รพ.

54 นาทีที่แล้ว

‘ทหาร’ เปิดประตูให้ ‘ผู้ป่วยเขมร’ ผ่านเข้าแดนไทย ส่งรพ.รักษาอาการไส้ติ่งแตก

55 นาทีที่แล้ว

เสี่ยเต็นท์รถสุดเซ็ง รถถูกขโมย ตั้งรางวัลหาเบาะแส พบถูกเผาทิ้งกลางป่า!

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

‘สมเด็จพระมหาธีราจารย์’-‘บิ๊กป้อม’ ให้กำลังใจทหารชายแดนช่องบก

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความทั่วไปอื่น ๆ

ธ.โลกหั่นจีดีพี ปี68เหลือ1.8% คลังรอถกทรัมป์

ไทยโพสต์

อ้างแม้วเหยื่อการเมือง แฉแทรกแซงคดีชั้น14

ไทยโพสต์

ฝ่ายค้านจับมือปลดล็อกประเทศ

ไทยโพสต์

กห.ชูธงสร้างสมดุลภูมิรัฐศาสตร์

ไทยโพสต์

มิตรภาพชั่วคราว เกมสภาสั้น ‘ภท.-ปชน.’ จับมือล้ม ‘พท.’ ได้หรือ

ไทยโพสต์

มีจิตใจที่เป็นสุจริต พระราชดำรัสแก่ครม.ใหม่ ‘ภูมิธรรม’รักษาการนายกฯ

ไทยโพสต์

“ปัญหาไม่รู้จบ” เงินทอง-ผู้หญิง และโทรมือถือ.. .. ในหมู่บรรพชิต!!

ไทยโพสต์

ฉบับวันที่ 4 กรกฎาคม 2568

ไทยโพสต์

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...