โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ข้อดัง ข้อฝืด ข้อบวม เสี่ยงข้อเข่าเสื่อม แนะปรับพฤติกรรมก่อนสายเกินไป

PPTV HD 36

อัพเดต 2 วันที่แล้ว • เผยแพร่ 20 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ข้อเข่าเสื่อมพบมากในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี หรือหลังวัยหมดประจำเดือน เกิดจากการใช้งานข้อเข่าหนัก น้ำหนักเกิน หรือบาดเจ็บ ควรปรับพฤติกรรมและออกกำลังกายที่เหมาะสม

ข้อเสื่อมหรือปวดข้อ พบเป็นสาเหตุอันดับแรกของอาการปวดข้อในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือหลังวัยหมดประจำเดือน และจะพบมากตามอายุที่มากขึ้น ถือเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ค่อยมีโรคแทรกซ้อนที่อันตรายร้ายแรง แต่ก็สร้างความทรมาณและลำบากให้แก่ผู้สูงอายุได้เยอะทีเดียว เพราะเข่ามีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายมากเลยทีเดียว หลายคนมีพฤติกรรมการใช้ข้อเข่าที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลให้ข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควร

เช็ก 5 พฤติกรรมควรหลีกเลี่ยง เสี่ยงข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย

พฤติกรรมยกของหนัก นั่งยองๆ บ่อย เสี่ยง “ข้อเข่าเสื่อม” ก่อนวัยได้

โดยข้อเข่าก็เปรียบเสมือนบานพับที่เชื่อมระหว่างหัวกระดูกต้นขา และเบ้ากระดูกหน้าแข้ง ซึ่งปลายกระดูกทั้งสองจะมีกระดูกอ่อนคลุมไว้ และจะมีน้ำเลี้ยงคอยหล่อลื่นเพื่อช่วยลดแรงกระแทกในขณะที่เราเคลื่อนไหว ดังนั้นการเสื่อมสลายของผิวกระดูกอ่อนบริเวณดังกล่าวนี่เอง จึงเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้ข้อเข่าติดขัด และเกิดการอักเสบ บวม และรู้สึกปวดตามมา อาการเหล่านี้คือ อาการข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุอาการข้อเข่าเสื่อม

เกิดจากข้อเสื่อมตามวัย หรือข้อรับน้ำหนักมากเกินไปหรือมีการบาดเจ็บ ทำให้กระดูกอ่อนตรงผิวข้อต่อสึกกร่อนและมีกระดูกงอกเพราะมีหินปูนมาเกาะขรุขระ เวลาเคลื่อนไหวข้อจึงทำให้เกิดอาการปวดในข้อ นอกจากนี้อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ น้ำหนักมาก ข้อที่เป็นได้บ่อย มักเป็นข้อที่รับน้ำหนักมาก ได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อกระดูกสันหลัง ข้อกระดูกคอ

รู้ได้อย่างไรว่าข้อเริ่มไม่ดี?

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามข้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปวด เข่า สะโพก หลัง ต้นคอ หากปวดนาน ๆ จนกลายเป็นการปวดเรื้อรังอาจมีเสียงดังกรอบแกรบขณะที่เคลื่อนไหว อาการปวดข้อนี้มักจะเป็นตอนกลางคืน หรือเวลาอากาศเย็นชื้น หรืออากาศเปลี่ยนแปลง ข้อที่ปวดมักจะไม่มีอาการบวมแดงร้อน แต่ถ้าเป็นมาก อาจมีอาการบวม และมีน้ำขังอยู่ในข้อ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการทั่วไปเป็นปกติทุกอย่าง

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเป็นข้อเข่าเสื่อม

  • หากมีอาการปวดให้พักข้อที่ปวด อย่าเดินมาก ยืนมาก ใช้น้ำร้อนประคบและกินยาแก้ปวดพาราเซตามอล บรรเทา เป็นครั้งคราว ถ้ามีอาการปวดมาก อาจให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  • พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะทำให้อาการปวดข้อกำเริบ เช่น ห้ามยกของหนัก อย่ายืนนาน นั่งพับเพียบ หรือขัดสมาธิ เป็นต้น พยายามนั่งในท่าเหยียดเข่าตรง
  • พยายามบริหารกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวข้อให้แข็งแรง แต่การฝึกกล้ามเนื้อควรเริ่มทำเมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว
  • ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 3-4 สัปดาห์ หรือบวมตามข้อ หรือมีอาการปวดร้าวหรือชาตามแขน ร่วมกับปวดคอ ขา หรือหลัง แนะนำให้ไปโรงพยาบาล

ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้การรักษาด้วยการฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า เพื่อลดการเสียดสีขณะเคลื่อนไหว โดยวิธีนี้จะสามารถทำได้กับเฉพาะผู้ที่ไม่เคยมีการติดเชื้อในข้อเข่าเท่านั้น อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดที่รุนแรงเรื้อรังมานาน แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทดแทนข้อเข่าที่เสื่อม

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม คือ การผ่าตัดเอาข้อที่เสื่อมสภาพออก จากนั้นแพทย์จะใส่ข้อใหม่ซึ่งทำมาจากวัสดุพิเศษทางการแพทย์ที่มีความแข็งแรงทนทาน นอกจากนี้ไม่เพียงการนำกระดูกที่เสื่อมออก แพทย์จะปรับความตึงหรือหย่อนของเนื้อเยื่อรอบข้อเข่า เพื่อให้ขามีรูปร่างปกติ ไม่โก่งผิดรูป ซึ่งการเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะได้ผลดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับ

  • ประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
  • สภาพของข้อเข่าของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ถ้าข้อเข่าติดแข็งหรือผิดรูป เช่น เข่าโก่ง หรือกล้ามเนื้อข้อเข่า ลีบ ต้องมีการบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูต่อไป
  • ความร่วมมือของผู้ป่วยหลังผ่าตัดในเรื่องของบริหารข้อเข่าหลังผ่าตัด

ในผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ข้อเข่าเทียมจะสามารถอยู่ได้นานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม สภาพของข้อเข่าเทียมจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งการใช้งานของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก และคุณสมบัติของข้อเทียม ซึ่งผู้ป่วยควรดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น หลีกเลี่ยงการนั่งแบบยอง ๆ โดยไม่จำเป็น ไม่วิ่งทางไกล ไม่เล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะ และหมั่นดูแลตัวเองไม่ปล่อยให้ตัวเองติดเชื้อที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน รวมทั้งไม่ปล่อยให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบหรือเป็นแผลที่เล็บเท้า ก็จะช่วยให้ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก PPTV HD 36

ระทึก! โครงเหล็กเส้นพื้นที่ก่อสร้างทรุดล้มทับคนงานเจ็บ 13 คน

4 ชั่วโมงที่ผ่านมา

โต้ข่าวลือสหรัฐฯ เก็บภาษีไทย 36% ไม่เป็นจริง ยื่นข้อเสนอใหม่ก่อน 9 ก.ค.นี้

5 ชั่วโมงที่ผ่านมา
วิดีโอ

"เสธ.โหน่ง"จี้รัฐบาล เร่งแจ้งโลก ไทยถูกกัมพูชารุกราน | เข้มข่าวค่ำ | 6 ก.ค. 68

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

อดีตรองเลขา สมช. จี้รัฐบาลเร่งแจ้งโลกไทยถูกรุกราน ห่วงเสียเหลี่ยมเขมร!

6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

งานวิจัยเผย สีผสมอาหารส่งผลเด็กสมาธิสั้น- โรคมะเร็ง โดยเฉพาะสีแดง

TNN ช่อง16

เตือนภัย! "ของเล่นแถมเข็มฉีดยา" อันตรายหากเด็กใช้ในทางที่ผิด

TNN ช่อง16

สธ. มั่นใจไทยรักษา HIV มีประสิทธิภาพสูง คนติด 5 แสน อยู่ในระบบรักษาถึง 4 แสน

TNN ช่อง16

“สภาเภสัชกรรม” ชวนคนไทยดูแลสุขภาพ ตระหนักรู้เรื่องยา-โภชนาการ

ฐานเศรษฐกิจ

“ตาแดง” ระบาด แค่ฝนสาดเข้าตาก็เสี่ยงติดเชื้อไวรัส–แบคทีเรียได้

ฐานเศรษฐกิจ

วังวน ‘กัญชา’ เสรี - ผูกขาด - การแพทย์ จังหวะเวลาคืนยาเสพติด

กรุงเทพธุรกิจ

ควรมีติดบ้าน! 4 ผักยอดนิยม บำรุงตับ อาหารดีท็อกซ์จากธรรมชาติ

News In Thailand

เปิดตำราสมุนไพรดูแลสุขภาพหญิงชาย “รากสามสิบ-เมล็ดหมามุ่ย"

ฐานเศรษฐกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

สภาพอากาศวันนี้ เตือนไทยเจอฝนตกหนักหลายพื้นที่ พายุดานัสเสริมมรสุมแรง

PPTV HD 36

ไวรัลห้องน้ำ! ตร.เคาะประตูเจอสองพี่น้อง คำตอบพีคจนฮาทั้งโซเชียล

PPTV HD 36

กัมพูชาโต้ “แพทองธาร” ย้ำปราสาทตาเมือนอยู่ในเขตแดนกัมพูชา

PPTV HD 36
ดูเพิ่ม
Loading...