4 มิติ ‘Unlocking Next Growth’ ปลดล็อกเศรษฐกิจไทยโตยั่งยืน
ภาวะโลกเดือด สงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศ วิกฤตกำแพงภาษี ความไม่มั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจที่เสียเปรียบประเทศคู่แข่ง หนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรือน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม “AI ดิสรัปชัน” ปลดล็อกกระแสการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อทุกแง่มุมของชีวิตในระดับโลก ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมการจัดงานสัมมนาวิชาการหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง 6 สถาบัน โดยสถาบันวิทยาการการค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ภายใต้หัวข้อ "AI: THE NEXT GROWTH ENGINE FOR SUSTAINABILITY" ใน วันที่ 14 กรกฎาคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะเป็นคำตอบของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยมี ดร. พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานหอการค้าไทยและสมาคมหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไท เป็นประธาน พร้อมด้วยรศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
รู้ก่อนปังก่อน! ‘Epigenetics’ ตัวช่วยวางแผนสุขภาพเฉพาะบุคคล
ส่งออกจีนโตเกินคาด 'นำเข้า' เพิ่งฟื้นเป็นเดือนแรกของปี
ไทยติดหล่มปัญหาภายในประเทศของตัวเอง
รวมถึง ผู้บริหารระดับสูงชั้นนำ 6 สถาบัน ประกอบด้วย หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ ศาลยุติธรรม วิทยาลัยการยุติธรรม หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) สถาบันพระปกเกล้า
หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) สถาบันพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) สถาบันวิทยาการการค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น "Next Growth for Thailand Sustainability and Stability"
ดร. พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธานหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถา "Unlocking Next Growth" ว่าหอการค้าไทย เป็นองค์กรเอกชนที่เก่าแก่ในประเทศไทยและเป็นสถาบันที่ไม่ได้แสวงหากำไร มีการดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคู่กับรัฐบาล ด้วยการนำเสนอข้อเรียกร้อง และข้อชี้แนะทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และภาคประชาชน
Unlocking Next Growth สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเวทีโลกและในประเทศไทยขณะนี้ ซึ่งช่วงเวลานี้ได้รับคำถามมากมายว่าประเทศไทยจะเดินหน้าไปอย่างไร เพราะไทยติดหล่มปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาของประเทศ คนไทยเอง ดัชนีการเติบโตเทียบกับทั่วโลก ตัวเลขร่วงทุกเรื่อง ยกเว้นการคอรัปชันในประเทศที่สูงขึ้น เป็นปัญหาที่เกิดจากภายในประเทเป็นหลัก พอมีปัญหาภายนอกเข้ามาทำให้ไม่สามารถก้าวร่วมผ่านไปได้ เพราะไทยขาดความสามัคคี
"การเมืองการปกครอง" ซ้ำวิกฤตเศรษฐกิจไทย
“ไทยติดหล่มมากสุด คือ เรื่องการเมืองการปกครอง ความขัดแย้งการเมืองการปกครองเกิดมา 2 ทศวรรษ มีการแบ่งแยกการขับเคลื่อนประเทศไทย เรามีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดต้องร่วมกันทำให้การเมืองการปกครองเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นหลัก ไม่ใช่ผลประโยชน์ของนักการเมือง พรรคการเมือง ถ้าเราไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ ไทยจะไม่สามารถออกหลุมดำที่เกิดขึ้น” ดร. พจน์ กล่าว
ดร. พจน์ กล่าวต่อว่าการเปลี่ยนแปลงของประเทศมีความหนักหน่วง ปัจจุบันมีหลายขั้วทั้งในและต่างประเทศ และต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ระหว่างประเทศ การปกครองที่แตกต่างจากในอดีต ทุกประเทศต่างมี Agenda ของตัวเอง และไม่สนใจองค์กรระหว่างประเทศ ถ้าโลกไม่มีระบบระเบียบของตนเอง การขับเคลื่อนประเทศทุกมิติต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศตนเองเป็นหลัก และทำอย่างไรไม่ให้เสียเปรียบ
“เรื่องอัตราการเรียกเก็บภาษีนำเข้าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐอเมริกา รัฐบาลไทยได้พยายามเจรจาอย่างเต็มที่ ซึ่งโดยส่วนตัวมองว่าไม่ช้า จะช้าตรงตอนเริ่ม โดยหอการค้าไทยมีข้อเสนอแนะว่าให้ตั้งทีมไทยแลนด์ ที่มีนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแต่กระทรวงเข้าร่วม ซึ่งรัฐบาลอาจจะประเมินความเข้มข้นของปัญหาน้อย ทำให้มาตั้งทีมหลังมีการประกาศตัวเลขไปแล้ว และหลังจากนั้นการจะหารือร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ก็เป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีคำสั่งไม่จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ในการหารือร่วมกับทีมจากประเทศไทย”
พลาดท่า "ภาษีทรัมป์" 36% แรงงานตกงานกว่า 2 ล้านคน
ทั้งนี้ สำหรับข้อเสนอรอบที่2 ของไทยในการขยับเป้าหมายสมดุลการค้าสหรัฐเร็วขึ้นจาก 10 ปี เหลือ 7-8 ปี โดยกำหนดให้ปี 2573 ไทยลดได้ดุลการค้าสหรัฐลง 70% และปี 2574-2575 ไทย และสหรัฐมีสมดุลการค้ากัน รวมถึงข้อเสนอเปิดตลาดการค้าได้ปรับเป็นการเปิดเสรีหรือภาษีนำเข้า 0% ให้สหรัฐในสินค้าจำนวนหนึ่ง แต่ต้องไม่ทำให้คู่ค้าไทยที่มีข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) เสียเปรียบสหรัฐ รวมทั้งไทยจะเพิ่มการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ และเครื่องบิน นั้น ประเทศไทยไม่ได้เสียเปรียบ เพราะมีการนำเข้าสินค้าเหล่านั้นอยู่แล้วและอะไรก็ตามที่เป็นปัญหา อุปสรรคต่อเกษตรกรไทย ทางไทยไม่ได้นำเสนอ
“18%ของยอดส่งออกไทย หรือ ยอด 8 ล้านล้านบาท แต่ตอนนี้ครึ่งปีแรก สูงกว่านั้น ถ้าพลาดท่าโดน 36% มีสิทธิที่จะทำให้คนตกงาน 2 ล้านคน และตอนนี้ประเทศไทย มีคนตกงาน 1 ล้านคน ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ของประเทศอย่างมาก และไทยขายทุกประเทศในทุกประเทศทั่วโลกแล้ว การมองหาตลาดใหม่ๆ อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ขณะเดียวกัน แต่ละประเทศมีสเปกของตัวเอง การหาตลาดใหม่ต้องเปลี่ยนให้เป็นไปตามประเทศนั้น และถ้าภาษีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ภาษีสูงทั่วโลก อาจทำให้เกิดการแย้งกันต้องขายใหม่ แต่จะขายอะไร สินค้า ทำเฉพาะสเปกสหรัฐ และเปลี่ยนไปขายประเทศอื่นๆ ไม่ได้ ถ้าทรัมป์ ทำให้ภาษีสูงทั่วโลก อาจทำให้เกิดการแย่งกันขาย ทำให้ขายยากและราคาตัดกัน”
หากมีการจัดระเบียบได้ การลงทุนต่างประเทศไทยจะไปต่อได้ และไม่เชื่อว่าภาษีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะเป็นแบบนี้ตลอดไป เพราะผู้ที่รับกรรมมากสุด คือ ผู้บริโภคสหรัฐอเมริกา
4 มิติ "Unlocking New Growth” ปลดล็อกการเติบโตไทย
ดร.พจน์ กล่าวต่อไปว่าวันนี้ประเทศไทยเผชิญความท้าทายพร้อมกันถึง 3 ด้านหลัก หนึ่งคือแรงกดดันจากมาตรการภาษีและกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้า สองคือการแข่งขันรุนแรงจากสินค้าจีน ทั้งเรื่องราคาและการลงทุนแบบสวมสิทธิ์ และสามคือความเปราะบางภายในประเทศ ทั้งจากหนี้ครัวเรือนที่สูงและกำลังซื้อที่หดตัว
“การฝ่าฟันความท้าทายเหล่านี้ หอการค้าไทยขอเสนอแนวทาง Unlocking New Growth” ปลดล็อกการเติบโตใหม่ของประเทศไทย ผ่าน 4 มิติสำคัญ ได้แก่ มิติที่ 1 คือ Build Business Confidence & Strengthen Trade & Global Supply Chains มิติที่ 2 คือ Business Transformation: Innovation, Digital, Ai, Robot, IoT & ESG Integration เร่งการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจ และเศรษฐกิจยั่งยืน มิติที่ 3 Talent Development ยกระดับศักยภาพคนไทยและ ใช้เครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ และมิติที่ 4 คือ Empowering SMEs & Strengthening Public-Private Partnerships ส่งเสริมสมาชิกเครือข่าย, SMEs และเสริมสร้างความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนโดยเฉพาะเครือข่ายนานาชาติ”
อย่างไรก็ตาม การปลดล็อกศักยภาพใหม่ของประเทศ จะเกิดขึ้นได้จริง ก็ต่อเมื่อภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา “ร่วมมือกันอย่างแท้จริง” และผู้นำจาก 6 สถาบันที่รวมตัวกันในวันนี้ ก็คือ “พลังขับเคลื่อนสำคัญ” ที่จะร่วมกันกำหนดทิศทางการเติบโตใหม่ของประเทศไทย
รศ.ดร. ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ในฐานะหลักสูตร TEPCoT มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดงานสัมมนาวิชาการระดับสูง 6 สถาบันครั้งนี้ เราได้ร่วมกันกำหนดธีมงาน เพื่อหาทางออกให้กับประเทศในเวลานี้ เรามองที่อนาคตของประเทศไทยที่ต้องนำด้วยเทคโนโลยี Ai โดย 6 สถาบันได้นำเสนอหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้ หัวข้อ “Shift the Mindset, Shape the Future with Ai” โดย หลักสูตร วตท. หัวข้อ“Thailand Ai Readiness”
โดยหลักสูตร วปอ. หัวข้อ “Ai : นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาพลเมืองและประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน” โดยหลักสูตร ปปร. หัวข้อ “Ai and Election” โดยหลักสูตร พตส. หัวข้อ “Risk and Governance in Ai Era” โดย บยส. และปิดท้ายด้วยหลักสูตร TEPCoT กับหัวข้อ The “NEXT” Possibilities”