โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

112 ปี วิศวะจุฬาฯ! ปั้นคนเก่ง สร้าง Ecosystem มีทักษะตรงใจอุตสาหกรรม

กรุงเทพธุรกิจ

อัพเดต 13 ชั่วโมงที่ผ่านมา • เผยแพร่ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา

เนื่องในโอกาสครบรอบ 112 ปี ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะ ฯ และทีมบริหาร เผยวิสัยทัศน์และทิศทางที่สำคัญของการบริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อมุ่งสู่การเป็นสถาบันการศึกษาที่ปลูกฝังค่านิยมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ทุกคนใน Ecosystem ที่ไม่จำกัดเพียงนิสิต แต่หมายถึงคณาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ ศิษย์เก่าและพันธมิตรทั้งหมด

รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี ฯ เผย ในยุคสมัยแห่งการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด การพัฒนาบุคคลไม่เพียงจำกัดอยู่แต่ในด้านวิชาการความรู้ แต่การปลูกฝังค่านิยมในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เท่าทันกับปัจจุบันที่มีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมได้ตลอดเวลา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่ช่วยพัฒนาวิศวกรที่มีคุณภาพและมีคุณธรรม อยู่คู่สังคมไทยมานานกว่า 112 ปี มีความมุ่งหวังในการสร้างต้นกล้าที่สามารถเติบโตไปเป็นรากฐานอันมั่นคงของประเทศ อุทิศความสามารถที่มีเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของประเทศไทย และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอย่างไม่รู้จบ เพื่อเป็นผู้นำสังคมและพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

วิศวฯ จุฬาฯ ผนึกกำลัง 15 องค์กรชั้นนำ เตรียมจัดงาน SISTAM 2025

จุฬาฯ จับมือ 6 บิ๊กเทค - ภาครัฐ เปิดหลักสูตร AI ผู้บริหารระดับสูง

หมุดหมาย Community ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

“งานครบรอบ 112 ปี เป็นหมุดหมายสำคัญที่เราจะตอกย้ำสิ่งที่เรามุ่งเน้นมาตลอด คือการสร้าง Community ที่เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ ที่ไม่จำกัดแค่เฉพาะช่วงชีวิตการเป็นนักเรียน นิสิต แต่เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) คณะฯมุ่งพัฒนา พัฒนาหลักสูตรที่ ตรงใจ ตรงไทย ตรงโลก ส่งเสริมชาววิศวะ ฯ จุฬา ฯ เป็นผู้รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา”

คณะฯ มองเป้าหมายการพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 มุมมองหลักคือ ด้าน Inside out และ Outside In ในด้าน Outside In คือเรื่องการพัฒนานิสิตให้เติบโตรอบทิศ เพราะนิสิตคือหัวใจสำคัญ ทุกคนมีความสามารถที่พัฒนาความสามารถเฉพาะตน สถาบันการศึกษามีหน้าที่ในการมอบโอกาสและประสบการณ์นำทางสร้างปัญญาและทักษะ ให้นิสิตมองเห็นความท้าทายและมีแนวทางการพัฒนาไปสู่คำตอบนั้น มอบโอกาสและประสบการณ์ให้เขาได้เติบโต เป็นวิศวกรที่ทรงคุณค่าป้อนเข้าสู่สังคมประเทศไทยและสังคมโลก

คณะ ฯ เข้าใจความต้องการของนิสิต ที่มีความหลากหลาย เราสนับสนุนให้นิสิตสามารถเรียนสาขาย่อยต่างภาคได้ (Minor) นิสิตสามารถกำหนดเส้นทางการพัฒนาตนเองได้อย่างไม่มีขีดจำกัด สร้างความเชี่ยวชาญตามความสนใจเพื่อพัฒนาความสามารถเฉพาะตัวของตัวเองได้อย่างเหมาะสม

2 มุมมองเป้าหมายการพัฒนานิสิตวิศวะ จุฬาฯ

การพัฒนา Outside In นั้น จำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วยจึงจะเกิดผล คณะ ฯ ยังให้ความสำคัญในการพัฒนาแบบ Inside Out ควบคู่ไปพร้อมกัน ในที่นี้หมายถึงการพัฒนาบุคลากรผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนิสิตไปด้วย เช่น คณาจารย์ บุคลากรคณะ ฯ เจ้าหน้าที่ เราสนับสนุนการทำงาน และการพัฒนาการเรียนรู้ในทุกด้าน คณะ ฯ ได้มีการสนับสนุนเงินทุนวิจัยสำหรับคณาจารย์ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำงานวิจัยที่เป็นระดับ Pioneer ที่อาจเป็นนวัตกรรมใหม่ในการเปลี่ยนแปลงสังคมในอนาคตได้

อีกทั้งยังสนับสนุนให้เกิดผู้บริหารคณะ ฯ รุ่นใหม่เสมอ ผ่านโครงการ Co-learning Leadership ที่ช่วยผลักดันให้คณาจารย์ บุคลากรคณะ ฯ พัฒนาตนเองขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญในรุ่นต่อไปของคณะ ฯ ผ่านการอบรม และการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ เพื่อสร้างนักวิจัย ผู้บริหาร รุ่นใหม่ ที่มีทัศนวิสัยกว้างไกล ทันยุคสมัย มีความสามารถในการบริหารได้

นอกจากนี้ คณะ ฯ ยังเปิดกว้างเรื่องการพัฒนา ไม่ให้จำกัดอยู่เพียงภายในสถาบันการศึกษา แต่ยังมีการสร้างพันธมิตรจากภายนอกทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมธุรกิจ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรการสอน Sandbox ให้นิสิตได้มีโอกาสในการฝึกงานกับบริษัทจริง ๆ ทุกปีตั้งแต่การศึกษาปีที่ 1 โมเดลนี้สามารถตอบโจทย์อย่างตรงจุด นิสิตทราบความต้องการและความคาดหวังจริงจากอุตสาหกรรมแต่แรก ทำให้มีทั้งเวลาและมีแรงบันดาลใจเรียนวิชาได้ตรงกับสิ่งที่ท้าทายและเป็นอนาคตของอุตสาหกรรม อีกทั้งยังเลือกพัฒนา Soft Skills ทักษะการทำงานเหมาะเฉพาะตน นิสิตกำลังการศึกษา สามารถทำงาน Part Time ต่อเนื่องกับบริษัทได้ นิสิตในหลักสูตรเป็นฟันเฟืองที่สามารถทำงานได้ทันที มีทักษะที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้คณะวิศวกรรมศาสตร์ร่วมมือกับคณะพาณิชศาสตร์และการบัญชีสร้างหลักสูตร Chula LGO (Leader For Global Operation) incorporated with MIT LGO ซึ่งพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถทางวิศวกรรมและบริหารธุรกิจ ซึ่งนิสิตต้องเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรม 6 เดือนเพื่อแก้โจทย์ให้อุตสาหกรรม

จะเห็นได้ว่า เราให้ความสำคัญกับ “บุคคล (People)” อย่างจริงจัง เพราะเราเชื่อว่าการพัฒนาบุคคลคือหัวใจของการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ต่อไป สิ่งที่สถาบันการศึกษาอย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถทำได้คือการเป็นสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบันและอนาคตให้นิสิต โดยเตรียมเครื่องมือและสภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกให้นิสิตสามารถเดินไปสู่จุดหมายได้อย่างมั่นคง พร้อมเป็นกำลังสำคัญของสังคมในยุคสมัยต่อไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก กรุงเทพธุรกิจ

ตลท. ยกระดับซื้อขาย DV8 เป็นระดับ 2 ห้าม Net settlement ตั้งแต่ 16 ก.ค. - 5 ส.ค. นี้

24 นาทีที่แล้ว

ศูนย์ฮีลใจนักวิ่ง! 'HOKA Culture Hub' รันคลับใหม่ใจกลางเจริญกรุง

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

'อนุทิน' รับส่งเอกสารแจงกกต.ปม'ทักษิณ' ครอบงำพรรค ยันภท.อิสระ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

Quiet Firing ทำไมยุคนี้เจอบ่อย? เปิดเบื้องหลังการไล่ออกเงียบๆ

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

คอลลาเจน ข้อควรรู้ก่อนกิน 5 กลุ่มโรค ควรเลี่ยงอาจกระทบต่อสุขภาพ

Amarin TV

“อะมีบากินสมอง” ภัยเงียบจากน้ำธรรมชาติ ย์แพทย์ มช. เตือนประชาชนอย่าชะล่าใจ

TNN ช่อง16

ประกันสังคม ยันจ่ายค่ารักษาต่อเนื่อง ไม่ให้เป็นภาระสถานพยาบาล

ฐานเศรษฐกิจ

คปภ.สั่งเพิกถอน ใบอนุญาตนายหน้าประกัน หลอกเงินนักศึกษา ม.ขอนแก่น 57 ราย ทำกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ

BTimes

Deep Talk AI จาก DPU! ผู้ช่วยส่วนตัวเรียนรู้-สื่อสารในยุคดิจิทัล

กรุงเทพธุรกิจ

"ซิลลิค ฟาร์มา" ทุ่ม 130 ล้านบาท ยกะดับโลจิสติกส์เภสัชภัณฑ์ในไทย

ฐานเศรษฐกิจ

ส่งฟรี! รถรับส่งผู้ป่วยมะเร็งบัตรทอง เข้าถึง 3 เทคโนโลยีขั้นสูง

กรุงเทพธุรกิจ

มะเร็ง..กำลังคุกคาม ‘คนรุ่นใหม่’ เร็วกว่าที่คิด

GM Live

ข่าวและบทความยอดนิยม

Loading...