โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

ทรามาดอล ประกาศเป็น ยาควบคุมพิเศษ รู้ทันอันตราย อย่าใช้ผิดวัตถุประสงค์

Amarin TV

เผยแพร่ 9 ชั่วโมงที่ผ่านมา
ทรามาดอล ประกาศเป็น ยาควบคุมพิเศษ รู้ทันอันตราย กลไกออกฤทธิ์ที่มักนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

ทรามาดอล ประกาศเป็น ยาควบคุมพิเศษ รู้ทันอันตราย กลไกออกฤทธิ์ที่มักนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2568 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ ฉบับที่ 57 ประกาศโดย นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2568

ประกาศดังกล่าว ระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 76 (4) แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2522 และมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการยา ในการประชุมครั้งที่ 421-5/2567 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (99) ของข้อ 3 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ยาควบคุมพิเศษ
ลงวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2521

“(99) ยาทรามาดอล (Tramadol) ตำรับยาเดี่ยว ชนิดรับประทาน”

ยาทรามาดอล คืออะไร

ทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาระงับปวด กลุ่มโอปิออยด์ (Opioids) ข้อบ่งใช้รักษาอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรงชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น อาการปวดจากบาดแผล กระดูกหัก การบาดเจ็บของเส้นประสาท ไม่ควรใช้ในอาการปวดเล็กน้อย

ยาทรามาดอล กลไกการออกฤทธิ์

1. กระตุ้นมิวรีเซปเตอร์ (µ-receptor) จะมีฤทธิ์ลดความปวด และมีฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดภาวะเคลิ้มสุข (euphoria)

2. ยับยั้งการเก็บกลับของสารสื่อประสาทชนิดโมโนเอมีน (monoamine) คือ นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) และ เซอโรโทนิน (serotonin) ทำให้สารสองชนิดนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นและลดอาการปวดได้

ยาทรามาดอล ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

การใช้ยาทรามาดอลเกินขนาด ในปัจจุบันพบมากในกลุ่มวัยรุ่นที่นำยามาใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการเสพเพื่อผ่อนคลายและหากใช้ไปนานๆ จะเกิดการเสพติด และทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ อารมณ์แปรปรวน มึนงง เคลิ้ม เฉื่อยชา

การเกิดพิษจากทรามาดอลแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ การตั้งใจรับประทานยาเกินขนาด เช่น การรับประทานยาเพื่อฆ่าตัวตาย และเป็นผลจากการเสพเพื่อผ่อนคลาย

อาการเมื่อใช้ยาเกินขนาด ได้แก่ อาการซึม หมดสติ คลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ/สูง ชัก หมดสติแบบลึก

ดังนั้น การรับประทานยาทรามาดอลเกินขนาด และการนำยาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ เป็นอันตรายต่อชีวิตได้

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Amarin TV

พระราชรัตนสุธี ยังไม่ปรากฏตัว หลังเจ้าคณะใหญ่หนเหนือเรียกมารายงานตัว

46 นาทีที่แล้ว

แถลงเปิดปฏิบัติการนารีพิฆาตพระ จับกุม "สีกากอล์ฟ" บุคคลอันตราย

59 นาทีที่แล้ว

The All-New Hyundai SANTA FE เคาะราคาในไทย เริ่มต้น 1.599 ล้านบาท

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

รู้จัก Run Club & Coffee Party การเข้าสังคมแบบใหม่ของวัยรุ่นเทสดี

1 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความสุขภาพอื่น ๆ

คอลลาเจน ข้อควรรู้ก่อนกิน 5 กลุ่มโรค ควรเลี่ยงอาจกระทบต่อสุขภาพ

Amarin TV

“อะมีบากินสมอง” ภัยเงียบจากน้ำธรรมชาติ ย์แพทย์ มช. เตือนประชาชนอย่าชะล่าใจ

TNN ช่อง16

ประกันสังคม ยันจ่ายค่ารักษาต่อเนื่อง ไม่ให้เป็นภาระสถานพยาบาล

ฐานเศรษฐกิจ

คปภ.สั่งเพิกถอน ใบอนุญาตนายหน้าประกัน หลอกเงินนักศึกษา ม.ขอนแก่น 57 ราย ทำกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ

BTimes

Deep Talk AI จาก DPU! ผู้ช่วยส่วนตัวเรียนรู้-สื่อสารในยุคดิจิทัล

กรุงเทพธุรกิจ

"ซิลลิค ฟาร์มา" ทุ่ม 130 ล้านบาท ยกะดับโลจิสติกส์เภสัชภัณฑ์ในไทย

ฐานเศรษฐกิจ

ส่งฟรี! รถรับส่งผู้ป่วยมะเร็งบัตรทอง เข้าถึง 3 เทคโนโลยีขั้นสูง

กรุงเทพธุรกิจ

มะเร็ง..กำลังคุกคาม ‘คนรุ่นใหม่’ เร็วกว่าที่คิด

GM Live

ข่าวและบทความยอดนิยม

แก๊งค้า 'ทรามาดอล' เหิมหนัก! เผารถลูกค้าค้างค่ายาพังยับ (คลิป)

Amarin TV

รวบหนุ่มอาชีวะ หิ้วตะกร้าขาย 'ทรามาดอล' กลางวัด (คลิป)

Amarin TV
ดูเพิ่ม
Loading...