โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

AI ช่วยคู่รักมีลูกได้สำเร็จ หลังพยายามนาน 18 ปี ด้วยเทคโนโลยีใหม่จากโคลัมเบีย

Techsauce

เผยแพร่ 15 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Techsauce Team

คู่รักคู่หนึ่งพยายามมีลูกมาตลอด 18 ปี พวกเขาเดินทางไปทำเด็กหลอดแก้วในหลายประเทศทั่วโลก แต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ เพราะฝ่ายชายมีภาวะที่เรียกว่า Azoospermia หรือการไม่มีอสุจิในน้ำเชื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย ปกติแล้วน้ำเชื้อจะมีอสุจิอยู่หลายร้อยล้านตัว แต่ในคนที่เป็น Azoospermia แพทย์มักไม่พบตัวอสุจิแม้จะใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจแล้วก็ตาม

จนกระทั่งทั้งคู่ได้ลองเข้ารับการรักษาที่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากในประเทศโคลัมเบีย โดยที่นี้ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า STAR Method ซึ่งใช้ AI มาช่วยค้นหาอสุจิ

เทคโนโลยี STAR Method คืออะไร

STAR ย่อมาจาก Sperm Tracking and Recovery เป็นระบบที่ติดกล้องความเร็วสูงเข้ากับกล้องจุลทรรศน์ แล้วใช้ AI ช่วยวิเคราะห์ภาพมากกว่า 8 ล้านภาพในเวลไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง เพื่อค้นหาอสุจิ

ทีมแพทย์เล่าว่าก่อนใช้ AI บุคคลากรที่เชี่ยวชาญด้านนี้ได้ใช้เวลานานถึง 2 วันในการหาอสุจิแต่ไม่พบอะไรเลย แต่พอใช้ STAR กลับพบอสุจิได้ถึง 44 ตัวภายในเวลาชั่วโมงเดียว สำหรับกรณีของคู่นี้ STAR ตรวจพบอสุจิ 3 ตัว ซึ่งถูกนำมาใช้ปฏิสนธิ และประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ โดยถือเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกในโลกที่เกิดขึ้นจากการใช้ STAR Method

ซึ่งในสหรัฐฯ พบว่าประมาณ 40% ของภาวะมีบุตรยากเกิดจากฝ่ายชาย และราว 10% ของกลุ่มนี้มีภาวะ Azoospermia ซึ่งมักเป็นการวินิจฉัยที่คาดไม่ถึงเพราะผู้ชายที่มีภาวะนี้มักดูปกติ ไม่มีปัญหาด้านสมรรถภาพทางเพศ น้ำเชื้อก็ดูปกติ แต่เมื่อตรวจจริง ๆ กลับไม่มีตัวอสุจิอยู่เลย ปกติการรักษาภาวะนี้มักเป็นการผ่าตัดเปิดอัณฑะเพื่อตัดเนื้อเยื่อมาหาอสุจิ ซึ่งคอ่นข้างเสี่ยง และไม่สามารถทำซ้ำได้บ่อย ส่วนอีกทางเลือกคือการใช้ตัวอสุจิจากผู้บริจาค

STAR Method จึงเหมือนเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่ไม่ต้องผ่าตัด โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 ดอลลาร์ สหรัฐ หรือประมาณ 110,000 บาทและในอนาคตอาจนำไปใช้ในคลินิกอื่น ๆ ได้ หากมีการเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติม

AI กับบทบาทที่เพิ่มขึ้นในการรักษาภาวะมีบุตรยาก

AI ไม่ได้ช่วยแค่การค้นหาอสุจิแต่ยังถูกนำมาใช้ในกระบวนการ IVF ด้านอื่น ๆ ด้วย เช่นการคัดเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรง วิเคราะห์คุณภาพไข่ของผู้หญิง หรือปรับสูตรยาฉีดกระตุ้นไข่ให้ตรงกับสภาพร่างกายของแต่ละคนมากขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายคนย้ำ AI ไม่ได้มาแทนที่คนแต่ช่วยให้การตัดสินใจแม่นยำขึ้น อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญบางคนก็เตือนว่แม้เทคโนโลยีเหล่านี้จะน่าตื่นเต้น แต่ก็ยังต้องใช้เวลาในการศึกษาประสิทธิภาพให้ชัดเจนกว่านี้

AI อาจช่วยเจออสุจิได้มากขึ้นหรือเร็วขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะใช้ได้กับทุกคน – Dr. Gianpiero Palermo กล่าวทิ้งท้าย

อ้างอิง: cnn

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Techsauce

ถอดรหัส จาก The Brands at War: 4 กรณีศึกษาการตลาดที่ช่วยพาแบรนด์ให้รอดตายในยุคแห่งความปั่นป่วน

12 ชั่วโมงที่ผ่านมา

ทำไม Microsoft ถึงเลือกไทย ? กับโครงการ THAI Academy

17 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

ททท.ย้ำ ผู้ที่ลงทะเบียน ‘เที่ยวไทยคนละครึ่ง’ ไว้แล้ว ใช้สิทธิได้ตามปกติ

The Bangkok Insight

เปิดบริการแล้ว!! Garfield AI สำนักงานกฎหมาย AI แห่งแรกในอังกฤษ

กรุงเทพธุรกิจ

เกิดอะไรขึ้น? ถ้า กสทช. ไม่รับรองผลประมูลมือถือ : ผลต่อโทรคมนาคม

ฐานเศรษฐกิจ

Gen AI พุ่งสูงขึ้น 890% ท้าทายความปลอดภัยไซเบอร์องค์กร

ฐานเศรษฐกิจ

เปิด 3 นโยบายรัฐยังลุยต่อ ใต้แรงเคลื่อน 3 รัฐมนตรี 'คมนาคม'

กรุงเทพธุรกิจ

'ซินเคอหยวน' ติดเงื่อนตายเหล็กตก มอก. ดิ้นลุยธุรกิจในไทย

กรุงเทพธุรกิจ

48 ปี 'สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย' ยกระดับแรงงานไทย รับมือยุค AI

กรุงเทพธุรกิจ

วัดฝีมือ 2 รัฐมนตรีพาณิชย์ป้ายแดง “จตุพร-ฉันทวิชญ์ ” ขับเคลื่อนงานพาณิชย์

กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวและบทความยอดนิยม

ยอดขายดีแต่เงินไม่เหลือ? แก้ปัญหาด้วยที่ปรึกษาการเงิน SMEs กับ Financial Clinic

Techsauce

กรุงศรี ฟินโนเวต นำทัพลงทุน 280 ล้านบาทใน fileAI มุ่งสร้างองค์กรอัจฉริยะทั่วเอเชียแปซิฟิก

Techsauce

‘แก๊งเกาหลีเหนือ’ ปลอมตัวเป็น Dev อเมริกันรับงานทางไกล เบื้องหลังหาเงินให้โครงการอาวุธนิวเคลียร์ในเปียงยาง

Techsauce
ดูเพิ่ม
Loading...