โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ทำไม Microsoft ถึงเลือกไทย ? กับโครงการ THAI Academy

Techsauce

เผยแพร่ 17 ชั่วโมงที่ผ่านมา • Techsauce Team

“AI กำลังจะกลายเป็นเหมือนไฟฟ้า เมื่อเดินทางไปถึงสหรัฐฯ เศรษฐกิจก็โตแบบก้าวกระโดด และตอนนี้…ก็กำลังเกิดสิ่งเดียวกันนั้นกับประเทศไทย”

หนึ่งในคำพูดของ คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ที่ได้พูดไว้ตั้งแต่ปี 2024 และยังคงสะท้อนภาพอนาคตที่บริษัทเชื่อมั่นจนถึงวันนี้ และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของ THAI Academy ภารกิจใหญ่ที่ Microsoft ประเทศไทย จับมือกับภาครัฐ เอกชน และชุมชนทั่วประเทศ เพราะในยุคที่ AI กำลังกลายเป็นเส้นเลือดใหม่ของเศรษฐกิจโลก สิ่งสำคัญจึงไม่ใช่แค่นำเทคโนโลยีเข้ามา แต่ต้องเริ่มจากจุดที่สำคัญที่สุด…คือ “ปั้นคนให้ใช้ AI เป็น”

ในบทความนี้ Techsauce ได้พูดคุยกับคุณธนวัฒน์อย่างเจาะลึก ถึงภาพรวมของโครงการ THAI Academy ตั้งแต่ก้าวแรก ความท้าทาย และเป้าหมายใหญ่…ที่จะปั้น “คนไทย 1 ล้านคนให้เก่ง AI” ภายในปี 2025 และนี่อาจเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้ประเทศพร้อมก้าวสู่ยุค AI First อย่างเต็มตัว

เบื้องหลัง THAI Academy เราเห็นอะไรในประเทศไทย ?

THAI Academy คือโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย และ Microsoft โดยมีพันธมิตรจากภาครัฐและเอกชนกว่า 35 องค์กร มาช่วยกันสอนคนไทยให้เข้าใจและใช้ AI ได้จริง ตั้งแต่ระดับชุมชนไปจนถึงหน่วยงานราชการ แต่นอกเหนือจากเป้าหมาย 1 ล้านคนที่เห็นชัดบนแผนงาน สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือ

Microsoft เห็นอะไรในประเทศไทย ?

ทำไมต้องรีบปั้นคนไทยให้รู้จักใช้ AI ?

คุณธนวัฒน์ เริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นว่าความจริงแล้วในสายตาของ Microsoft ประเทศไทยของเราเป็นหนึ่งใน Strategic Country หรือประเทศยุทธศาสตร์สำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาที่เราเห็นการเข้ามาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น Cloud และ AI Data Center ในไทย

แต่ประเด็นสำคัญอยู่ตรงที่การมีเทคโนโลยีอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องมีคนที่ต้องใช้เทคโนโลยีเป็น เพราะต่อให้มีดิจิทัลแพลตฟอร์มที่ทันสมัยแค่ไหน ถ้าประเทศไม่มีคนที่มีทักษะด้าน AI และดิจิทัลมารองรับ โอกาสเหล่านั้นก็จะหลุดมือไปในที่สุด

ซึ่งสิ่งที่ Microsoft เห็นคือ ศักยภาพของประเทศไทยในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ การเงิน การท่องเที่ยว หรือการบริการ ซึ่งล้วนมีจุดแข็งอยู่แล้ว และถ้ามี AI เข้ามาก็จะช่วยเสริมให้ดีขึ้นไปอีกได้ เมื่อเห็นภาพทั้งหมดนี้ ทาง Microsoft จึงตัดสินใจร่วมมือกับภาคีพันธมิตรทั้งในภาครัฐและเอกชนไทย เพื่อเริ่มโครงการ THAI Academy ที่เน้นการให้ความรู้เรื่อง AI กับประชาชนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะ ในระดับพื้นฐาน เพราะเชื่อว่าการลงทุนที่ยั่งยืนที่สุดในโลก AI ไม่ใช่เครื่องจักร…แต่คือ ‘คน’

วิธีคิดและวิธีทำให้ถึงเป้าของ “การฝึกคนไทย 1 ล้านคนในปีเดียว”

ภายในปีนี้ จะอบรมคนไทยให้มีทักษะ AI ให้ได้ 1 ล้านคน ฟังดูเป็นตัวเลขที่ทะเยอทะยาน แต่เบื้องหลังไม่ได้เกิดจากการตั้งเลขเท่ๆ แล้วค่อยหาเหตุผลทีหลัง ซึ่งคุณธนวัฒน์เผยว่าโครงการนี้ไม่ได้ทำคนเดียว แต่จับมือกับพันธมิตรทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา เอกชน ไปจนถึงหน่วยงานท้องถิ่น และอินฟลูเอนเซอร์ในโลกออนไลน์

วิธีคิด: จะสอนคนไทยให้เก่ง AI ต้องเริ่มจาก “ใคร” และ “ใครช่วยได้”

ก่อนจะวางแผนใหญ่แบบทั้งประเทศ ทีม Microsoft ไม่ได้เริ่มจากการทุ่มคอร์สใส่ทุกคน แต่เริ่มจากคำถามง่าย ๆ ว่า“เราจะสอนใคร?” และ “ถ้าอยากเข้าถึงเขา เราต้องร่วมมือกับใคร?” จึงเกิดการแบ่งกลุ่มเป้าหมาย ออกเป็น 5 โปรไฟล์ เพื่อวางแผนให้เข้าถึงแบบตรงจุด ได้แก่

  • ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ
  • นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์
  • ผู้ประกอบการ SME และภาคธุรกิจ
  • ชุมชนในต่างจังหวัด
  • ประชาชนทั่วไปที่อยาก reskill/upskill ด้วยตัวเอง

วิธีทำ: คิดแบบคนลงมือทำจริง ไม่ใช่แค่คนวาดฝัน

จากนั้นก็ย้อนกลับมาคิดว่า ถ้าจะเข้าถึงแต่ละกลุ่มนี้ เราต้องจับมือกับใครบ้าง เช่น กระทรวงดิจิทัลฯ และหน่วยงานต่างๆ ภายใต้การกำกับดูแล เพื่อให้เข้าถึงทุกโปรไฟล์กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ดิจิทัลชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ เพื่อให้ไปถึงชาวบ้านต่างจังหวัด ถ้าจะสอนข้าราชการ ก็ร่วมกับหน่วยงานราชการอย่าง สพร. ถ้าจะเข้าถึงเด็กนักเรียน นักศึกษา ก็ไปกับกระทรวงศึกษาฯ กระทรวงอว. และถ้าจะทำให้คนทั่วไปเรียนง่ายขึ้น ก็ทำคอนเทนต์ร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ อาทิ

  • เริ่มจากคนในชุมชน Microsoft ได้ร่วมกับ “สำนักงานดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” ซึ่งมีศูนย์กระจายอยู่ทั่วประเทศ 1,722 แห่ง ด้วยเป้าหมาย 170,000 คน
  • ฝั่งการศึกษา Microsoft ทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอว. เพื่อพัฒนาทักษะนี้ให้แก่นักเรียนสายสามัญและอาชีวะ นักศึกษา 747,000 คน และครูอีก 10,000 คน
  • สำหรับประชาชนทั่วไปที่อยากเรียนด้วยตัวเอง Microsoft ก็มีเว็บให้เข้าไปเรียนฟรี พร้อมระบบนับผู้เรียนแบบ “1 คน = 1 สิทธิ์” คือนับที่จำนวนผู้เรียน ไม่ใช่นับยอดคลิก…

เพราะฉะนั้น 1 ล้านคน จึงไม่ใช่แค่ตัวเลขในฝัน แต่คือภาพรวมของแผนที่เริ่มจากของจริง ไล่คำนวณตามโครงสร้างที่มี แล้วค่อยประกอบออกมาเป็นเป้าหมายใหญ่ที่ทำได้จริงใน 1 ปี

ปัจจุบัน ตัวเลขล่าสุดชี้ชัดว่า Microsoft ไม่ได้แค่“ตั้งเป้า” แต่ทำได้แล้ว เพราะตอนนี้คนไทยมากกว่า 1.2 ล้านคนผ่านการฝึกอบรมไปแล้ว และมีผู้ที่เรียนจบคอร์สแล้วกว่า 300,000 คน โดยมีตัวช่วยสำคัญคือ AI Skill Navigator แพลตฟอร์มกลางที่ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือต่างจังหวัด เพราะเป็นระบบออนไลน์ที่รวมคอนเทนต์หลากหลายให้เลือกเรียนได้ตามระดับความเข้าใจ

AI Skills Navigator แพลตฟอร์มกลางเบื้องหลังเลข 1 ล้านคน

หัวใจสำคัญของโครงการ THAI Academy ที่ทำให้สามารถขยายการอบรมทักษะ AI ได้ถึงหลักล้านคน ก็คือการมี “แพลตฟอร์มกลาง” ที่ชื่อว่า AI Skill Navigator แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ไมโครซอฟท์ออกแบบมาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ด้าน AI ได้อย่างง่ายที่สุด

ภายในแพลตฟอร์มนี้ มีคอร์สให้เลือกเรียนมากกว่า 200 คอนเทนต์ ครอบคลุมตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงระดับแอดวานซ์ ที่สำคัญคือ ทุกคอร์สถูกแปลเป็นภาษาไทยเรียบร้อยแล้ว และไม่ได้เป็นเพียงการแปลตรง ๆ เท่านั้น ไมโครซอฟท์ยังร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์สายการศึกษาและครีเอเตอร์รุ่นใหม่ มาช่วย “เล่า” เนื้อหาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย สนุก และดูจบได้ภายใน 2-4 นาทีต่อคลิป

ผู้เรียนจึงไม่ต้องมานั่งอ่านซับไตเติลยาว ๆ หรือพยายามแปลศัพท์เทคนิคจากภาษาอังกฤษด้วยตัวเองอีกต่อไป ทุกคนสามารถเข้าถึงเนื้อหาที่เข้าใจง่าย เหมาะกับไลฟ์สไตล์การเรียนรู้ของคนไทยยุคใหม่

ในบรรดาคอร์สที่มีอยู่ทั้งหมด คุณธนวัฒน์บอกว่า คอร์สที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ AI for Everyone หรือ “เอไอสำหรับทุกคน” ที่ออกแบบมาให้เข้าใจง่ายและใช้งานได้จริง โดยเฉพาะการใช้เครื่องมืออย่าง Microsoft Copilot ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งทักษะที่ผู้ใช้งานทั่วไปและคนทำงานสายต่าง ๆ เริ่มให้ความสนใจอย่างสูงในยุคนี้

AI Skill Navigator จึงเป็นเครื่องมือสำคัญ ที่ Microsoft ตั้งใจวางไว้ให้เป็น “แพลตฟอร์มกลางของประเทศ” ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทุกคนต้องเข้าถึงได้ อาทิ

  • ร่วมมือกับ สพร. – เปลี่ยนการเรียนรู้ของข้าราชการ

  • Microsoft ได้เริ่มส่งต่อคอนเทนต์ AI ที่มีในแพลตฟอร์ม AI Skill Navigator ให้กับ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ของข้าราชการไทย เป้าหมายไม่ใช่แค่การเรียนรู้แบบทฤษฎี แต่คือการ “ยกระดับระบบราชการ” ผ่านการใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูล ช่วยตัดสินใจ และออกแบบบริการภาครัฐที่ตอบโจทย์ประชาชนมากขึ้น

    • คุณธนวัฒน์ยกตัวอย่างว่า ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ภาครัฐถืออยู่ หากนำมาฝึก AI และเปลี่ยนเป็นอินไซต์ เช่น ข้อมูลที่ดินที่ระบุว่าแต่ละแปลงเหมาะกับพืชชนิดใด จะสามารถช่วยเกษตรกรเปลี่ยนชีวิตได้ หรือหากใช้ข้อมูลด้านสุขภาพ การศึกษา และการท่องเที่ยวให้เป็นระบบ จะทำให้การบริหารประเทศก้าวกระโดดได้แบบข้ามขั้น
  • ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ – ปรับคอนเทนต์ AI ให้เป็น “วิชาเลือก”

  • AI Skill Navigator ยังถูกนำไปร่วมกับ แพลตฟอร์ม NDLP (National Digital Learning Platform) ซึ่งเป็นระบบกลางของกระทรวงศึกษาธิการที่ให้นักเรียนและครูทั่วประเทศเข้าถึงบทเรียนดิจิทัล

    • Microsoft ไม่เพียงแค่เชื่อมคอร์สเข้าไปในระบบเท่านั้น แต่ยังทำงานร่วมกับกระทรวงอว. บรรจุคอนเทนต์ AI ให้เป็น “วิชาเลือก” ที่สามารถนับเป็นหน่วยกิตได้ เช่น หากนักศึกษาเรียนครบ 15 ชั่วโมง จะได้ 1 หน่วยกิต, ครบ 45 ชั่วโมง จะได้ 3 หน่วยกิตทันที
    • ในอนาคต Microsoft กำลังพัฒนาต่อให้ แพลตฟอร์ม NDLP มี Generative AI ครอบอยู่ด้านหน้า เพื่อให้เด็กไทยสามารถค้นหาเนื้อหาที่ต้องการเรียน เช่น “หนูอยากเก่งคณิต” หรือ “ช่วยสอนแคลคูลัสให้หน่อย” แล้วระบบจะจัดเนื้อหาที่เหมาะกับระดับชั้นให้อัตโนมัติ ไม่ต้องมานั่งหาหมวดหรือหัวข้อแบบเดิม
  • ขยายผลสู่ SME – ไม่ทิ้งคนทำธุรกิจรายย่อย

  • อีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายสำคัญคือ ผู้ประกอบการ SME ที่อาจไม่มีเวลาเรียนรู้อย่างเป็นระบบ หรือไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน Microsoft จึงทำงานร่วมกับหน่วยงานอย่าง สภาดิจิทัลฯ, สภาอุตสาหกรรมฯ และ SME Bank เพื่อส่งต่อคอนเทนต์จาก AI Skill Navigator เข้าไปถึงผู้ประกอบการเหล่านี้

    • โดยเนื้อหาจะครอบคลุมทั้งเรื่องการใช้ Copilot ในงานประจำวัน, การปรับกระบวนการธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไปจนถึงการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่ใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อน เช่น การใช้ AI วิเคราะห์แนวโน้มตลาด หรือช่วยพัฒนาแผนธุรกิจแบบอัตโนมัติ

ความลับของ THAI Academy !

ประเทศไทยคือ 1 ในผู้ได้รับเลือกที่ได้ทำโครงการนี้

คุณธนวัฒน์ให้เหตุผลว่า “เราเป็นประเทศที่ Microsoft มองว่ามีของ มีศักยภาพ และพร้อมจะเติบโตได้ด้วย AI” เพราะแม้โครงการ THAI Academy จะเป็นส่วนหนึ่งของแผนระดับโลกของไมโครซอฟท์ในการสร้างทักษะ AI ให้กับผู้คน โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเพียงไทยและอินโดนีเซีย เท่านั้น ที่ได้รับเลือกให้เริ่มต้นโปรแกรมนี้อย่างจริงจัง

หลังจากการพูดคุยกับคุณธนวัฒน์ สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ แผนการฝึกคนไทยให้เข้าใจและใช้ AI ไม่ได้หยุดอยู่แค่“ตัวเลข 1 ล้านคน” เท่านั้น แต่มันคือการออกแบบ “ระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้” เพราะเป้าหมายของ Microsoft คือการสร้างโครงสร้างการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง เข้าถึงง่าย และได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในทุกระดับ ในโลกที่ AI กำลังกลายเป็น “ภาษาใหม่” ของเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการทำงาน ทุกคนควรมีสิทธิ์เรียนรู้และใช้เครื่องมือนี้อย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู ข้าราชการ เจ้าของธุรกิจ หรือประชาชนทั่วไป

ดูข่าวต้นฉบับ
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...
Loading...

ล่าสุดจาก Techsauce

ถอดรหัส จาก The Brands at War: 4 กรณีศึกษาการตลาดที่ช่วยพาแบรนด์ให้รอดตายในยุคแห่งความปั่นป่วน

11 ชั่วโมงที่ผ่านมา

AI ช่วยคู่รักมีลูกได้สำเร็จ หลังพยายามนาน 18 ปี ด้วยเทคโนโลยีใหม่จากโคลัมเบีย

15 ชั่วโมงที่ผ่านมา

วิดีโอแนะนำ

ข่าวและบทความไอที ธุรกิจอื่น ๆ

เปิดบริการแล้ว!! Garfield AI สำนักงานกฎหมาย AI แห่งแรกในอังกฤษ

กรุงเทพธุรกิจ

เกิดอะไรขึ้น? ถ้า กสทช. ไม่รับรองผลประมูลมือถือ : ผลต่อโทรคมนาคม

ฐานเศรษฐกิจ

Gen AI พุ่งสูงขึ้น 890% ท้าทายความปลอดภัยไซเบอร์องค์กร

ฐานเศรษฐกิจ

เปิด 3 นโยบายรัฐยังลุยต่อ ใต้แรงเคลื่อน 3 รัฐมนตรี 'คมนาคม'

กรุงเทพธุรกิจ

'ซินเคอหยวน' ติดเงื่อนตายเหล็กตก มอก. ดิ้นลุยธุรกิจในไทย

กรุงเทพธุรกิจ

48 ปี 'สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย' ยกระดับแรงงานไทย รับมือยุค AI

กรุงเทพธุรกิจ

วัดฝีมือ 2 รัฐมนตรีพาณิชย์ป้ายแดง “จตุพร-ฉันทวิชญ์ ” ขับเคลื่อนงานพาณิชย์

กรุงเทพธุรกิจ

Zhengxin Chicken Steak แฟรนไชส์ไก่ทอดจีน โตเงียบๆ กินเรียบต่างจังหวัด

ThaiFranchiseCenter

ข่าวและบทความยอดนิยม

ถอดรหัส จาก The Brands at War: 4 กรณีศึกษาการตลาดที่ช่วยพาแบรนด์ให้รอดตายในยุคแห่งความปั่นป่วน

Techsauce

การทำงานในคลังสินค้าที่เปลี่ยนไป เมื่อจำนวนหุ่นยนต์ช่วยงานของ Amazon กำลังจะแซงหน้าพนักงาน

Techsauce

จากวิกฤตร้านอาหาร สู่โลกที่กลายพันธุ์ ถอดรหัสทางรอดธุรกิจไทยจาก 'ยอด-ท็อป' ในวันที่ AI คือทุกสิ่ง

Techsauce
ดูเพิ่ม
Loading...